Page 38 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       25


                            1.4  โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
                                 จากการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน พบว่า ก่อน
                   การทดลองทุกต ารับมีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับต่ า (38.8-56.6  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)

                   โดยต ารับที่ 2  ปุ๋ยเคมีอัตราตามค่าวิเคราะห์ดินจากโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง  ร่วมกับปุ๋ยพืชสดและน้ าหมัก
                   ชีวภาพ  มีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้สูงสุด 56.6  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังการทดลองปีที่ 1
                   ทุกต ารับมีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ลดลงแต่ยังอยู่ในระดับต่ าเหมือนเดิม (38  มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม) (ภาพที่ 7 และตารางผนวกที่ 13) หลังการทดลองปีที่ 2 ทุกต ารับมีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยน

                   ได้ลดลงแต่ยังอยู่ในระดับต่ าเหมือนเดิม โดยต ารับที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตราตามค าแนะน า  ร่วมกับ
                   ปุ๋ยพืชสดและน้ าหมักชีวภาพ มีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้สูงสุด หลังการทดลองปีที่ 3 ต ารับที่ 3
                   ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตราตามค าแนะน า ร่วมกับปุ๋ยพืชสดและน้ าหมักชีวภาพ  มีปริมาณโพแทสเซียมที่

                   แลกเปลี่ยนได้ในระดับปานกลาง ซึ่งสูงกว่าต ารับอื่นๆ จากผลการทดลองทั้ง 3 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับก่อน
                   การทดลองพบว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในต ารับที่ 3  มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นกว่า
                   ต ารับอื่นๆ  อาจเป็นเพราะในการทดลองของปีที่ 3  ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ใช้ในการทดลองมีปริมาณ
                   โพแทสเซียมสูง ถึง 5.84 เปอร์เซ็นต์ (ตารางผนวกที่ 5) จึงท าให้มีผลตกค้างในดินสูง







































                   ภาพที่ 7  ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ก่อนและหลังการทดลองการใช้ปุ๋ยต่างๆ
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43