Page 37 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
1.3 ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
จากการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน พบว่า ก่อน
การทดลองทุกต ารับมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับสูง (33.80-36.60 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม) จากการเก็บตัวอย่างดินหลังการทดลองปีที่ 1 2 และ 3 เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน
พบว่า ต ารับที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตราตามค าแนะน า ร่วมกับปุ๋ยพืชสดและน้ าหมักชีวภาพ มีปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงที่สุด และต ารับที่ 4 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของ
ค าแนะน าตามค่าวิเคราะห์ดินจากโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง ร่วมกับปุ๋ยพืชสดและน้ าหมักชีวภาพ มีปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์หลังการทดลองปีที่ 1 อยู่ในระดับสูงมาก (57 และ 45.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ตามล าดับ) หลังการทดลองปีที่ 2 อยู่ในระดับสูง (44.6 และ 44 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ) และหลัง
การทดลองปีที่ 3 อยู่ในระดับสูงมาก (71.6 และ 51.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ) (ภาพที่ 6 และ
ตารางผนวกที่ 12) จากผลการทดลองทั้ง 3 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่า ปริมาณฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ ในต ารับที่ 3 และ 4 มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นเพราะในต ารับที่ 3 ได้ใส่ปุ๋ย
อินทรีย์คุณภาพสูง และต ารับที่ 4 ใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 โดยในปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีปริมาณฟอสฟอรัส
7.88, 2.93 และ 5.84 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ 1, 2 และ 3 ตามล าดับ (ตารางผนวกที่ 5) จึงท าให้ต ารับที่ 3 มี
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับสูงมาก ส่วนต ารับที่ 1 วิธีเกษตรกร และต ารับที่ 2 ปุ๋ยเคมีอัตรา
ตามค่าวิเคราะห์ดินจากโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง ร่วมกับปุ๋ยพืชสดและน้ าหมักชีวภาพ ปริมาณฟอสฟอรัสที่
เป็นประโยชน์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากก่อนการทดลองยังอยู่ในระดับสูงเหมือนเดิม
ภาพที่ 6 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ก่อนและหลังการทดลองการใช้ปุ๋ยต่างๆ