Page 44 - การปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       37







                                                             บทที่ 5


                                                     สรุปผลการด าเนินงาน

                       5.1 สรุปผล
                              สมบัติทางเคมีของดินพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านสมบัติดินในแปลงเกษตรกรและแปลง

                       สาธิตการปรับปรุงบ ารุงดิน พบว่าแปลงเกษตรกรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
                       เปลี่ยนแปลง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ลดลง จากระดับความเป็นกรดปานกลาง เพิ่ม

                       ระดับเป็นกรดรุนแรง ส่วนแปลงสาธิตการปรับปรุงบ ารุงดิน พบค่าความเป็นกรดเป็นด่างไม่

                       เปลี่ยนแปลง แต่มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น
                              ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) แปลงเกษตรกร พบปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวโน้มลดลง

                       สอดคล้องกับปัญหาโครงสร้างดินแน่นทึบ ในกลุ่มชุดดินที่ 7 ชุดดินท่าตูม ที่เป็นดินเหนียวที่มี
                       โครงสร้างดินแน่นทึบ หน้าดินแข็งไถพรวนยากความอุดมสมบูรณ์ต่ า ซึ่งเกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินและ

                       การขาดการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน ส่วนแปลงสาธิตการปรับปรุงบ ารุงดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                       มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ้งชี้ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

                       โดยการไถกลบตอซังพืชและปุ๋ยพืชสด ยังช่วยแก้ไขปัญหาโครงสร้างดินแน่นทึบ อินทรียวัตถุจะสร้าง

                       ช่องว่างในดินเพิ่มขึ้น สร้างความร่วนซุยและดูดซับความชื้นและธาตุอาหาร ท าให้ดินมีความอุดม
                       สมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชมากขึ้น

                              ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Avail.P)  และปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ (Extr.k)

                       พบว่าทั้งแปลงเกษตรกรและแปลงสาธิตการปรับปรุงบ ารุงดินไม่พบความเปลี่ยนแปลง ทั้งก่อน
                       เพาะปลูกและหลังเก็บเกี่ยว

                              ผลผลิตข้าวในแปลงสาธิตพบว่า ผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่มีความแตกต่าง โดยพบผลผลิตข้าว
                       แปลงสาธิตการปรับปรุงบ ารุงดิน ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูง ผลผลิตแปลงเกษตรกร ผลผลิตข้าวที่แตกต่างเกิด
                       จากการจัดการดินและปุ๋ยที่เหมาะสม แปลงสาธิตการปรับปรุงบ ารุงดิน โดยมีการไถกลบตอซังและพืช

                       ปุ๋ยสด ร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และนวัตกรรมเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของกรมพัฒนา
                       ที่ดิน ให้ผลผลิตข้าวต่อไร่สูงกว่าแปลงเกษตรกร และพบความอุดมสมบูรณ์ของดินมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่ง
                       ต่างจากแปลงเกษตรกรที่มีแนวโน้มความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ลดลง และพบความรุนแรงของความ
                       เป็นกรดเป็นด่างของดิน เพิ่มระดับสูงขึ้น
                              ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่า ต้นทุนแปลงสาธิตการปรับปรุงบ ารุงดิน มีต้นทุนการผลิตที่

                       สูงกว่าจากการปลูกปอเทือง และการไถกลบ แต่สามารถให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ ได้สูงกว่าแปลงเกษตรกร
                       และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่าแปลงเกษตรกร ที่ให้ผลตอบแทนก าไรสุทธิติดลบ ซึ่งเกิดจาก
                       ปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่ า  เพียง 558 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะหากค านวณจากต้นทุนการผลิต ปริมาณ

                       ผลผลิตที่เป็นต้นทุนคือ 656 กิโลกรัมต่อไร่ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจก าไรสุทธิติดลบ สอดคล้อง
                       กับภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรเกษตรกรที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการท าการเกษตร
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49