Page 39 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          31




                                      3) ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ า และทรัพยากรป่าไม้ เป็นข้อมูล
                     ที่ได้จากการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดท าเป็นเอกสารายงานหรือข้อมูล

                     ทางวิชาการเผยแพร่ตามเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ า
                     กรมป่าไม้ ส านักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และส านักงานจังหวัดต่าง ๆ

                                      4) สภาพการใช้ที่ดิน เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ที่ดิน

                     ประเภทต่าง  ๆ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ า และพื้นที่
                     เบ็ดเตล็ด จากแผนที่และชั้นข้อมูลการสภาพการใช้ที่ดิน มาตราส่วน 1:25,000  ของกองนโยบายและ

                     แผนการใช้ที่ดิน และข้อมูลการส ารวจ และเก็บรวบรวมข้อมูลในภูมิประเทศในขั้นตอนของการส ารวจภาคสนาม


                     4.2 การน าเข้าข้อมูลและจัดการข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์

                                4.2.1 น าเข้าข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของแต่ละจังหวัดด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                     ส าหรับใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และจัดท าแผนที่ความลาดชันของพื้นที่แต่ละจังหวัด ได้แก่

                                      1) ชั้นข้อมูลขอบเขตการปกครอง มาตราส่วน 1:50,000

                                      2) ชั้นข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000
                                      3) ชั้นข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน มาตรส่วน 1:25,000

                                      4) ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1:4,000
                                      5) แบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข มาตราส่วน 1:4,000

                                      6) เส้นชั้นความสูงเชิงเลข มาตราส่วน 1:4,000
                                ส าหรับ ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข แบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข และเส้นชั้นความสูงเชิงเลข

                     มาตราส่วน 1:4,000 ครอบคลุมพื้นที่ของแต่ละจังหวัดนั้น จะมีจ านวนระวางหรือไฟล์ข้อมูลเป็นจ านวนมาก

                     ดังนั้นเพื่อความสะดวกและง่ายต่อการท างานในขั้นตอนของการน าเข้าควรสร้างโฟลเดอร์ส าหรับน าเข้า
                     ข้อมูลแต่ละประเภทข้อมูลไว้ เช่น โฟลเดอร์  “Ortho”  ส าหรับน าเข้าไฟล์ข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข

                     โฟลเดอร์ “Dem” ส าหรับน าเข้าไฟล์แบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข และโฟลเดอร์ “Contour” ส าหรับน าเข้า

                     ไฟล์ข้อมูลเส้นชั้นความสูง เพื่อสะดวกต่อการจัดการแฟ้มข้อมูลและการเปิด-ปิดชั้นข้อมูล
                                4.2.2 ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลแบบจ าลองระดับสูงเชิงเลขแต่ละระวางให้มีคุณภาพ

                     ถูกต้องและครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของแต่ละจังหวัด โดยใช้ชั้นข้อมูลเขตการปกครอง ปรับปรุงล่าสุดเมื่อปี
                     พ.ศ.2556 ของกรมการปกครอง เป็นกรอบในการพิจารณาตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลที่น าเข้า

                     ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                                4.2.3 โมเสค (Mosaic) ข้อมูลราสเตอร์ที่น าเข้ามาใช้งานในระบบ GIS ซึ่งมีจ านวนไฟล์ข้อมูล

                     มากกว่า 1 ไฟล์  ซึ่งเป็นขั้นตอนของการเชื่อมต่อข้อมูลราสเตอร์ให้เป็นผืนเดียวกัน โดยข้อมูลที่ต้องโมเสค

                     ให้เป็นผืนเดียวกันได้แก่ ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1:4,000 และแบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข
                     มาตราส่วน 1:4,000  โดยใช้ค าสั่ง data  Management  Tools---> Raster---> Raster dataset--->

                     Mosaic To New Raster ดังภาพที่ 4-1
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44