Page 20 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           9




                                    2) ยุคหินครีเทเซียประกอบด้วยหินทราย สีน้ าตาลแดง เนื้อละเอียด หินทรายแป้งสีน้ าตาล
                     แดง หินโคลนสีน้ าตาลแดงมีก้อนปูนฝังในเนื้อหิน หินทรายปนกรวด สีเทาปนขาว ขนาดเม็ดปานกลางถึง

                     หยาบและหินกรวดมน สีน้ าตาลแกมเหลือง เทา ส้มอ่อน ชมพู และขาว นอกจังนั้นยังพบเม็ดปูน เม็ดซิลิกา
                     พบทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด ได้แก่บริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของอ าเภอหล่มเก่าและ

                     อ าเภอเขาค้อ

                                    3) หินยุคจูแรสสิก ประกอบด้วย หินทราย หินทรายปนกรวด และหินกรวดมนมีลักษณะ
                     แข็งทนทานต่อการผุพัง จึงแสดงลักษณะเป็นสันเขาซึ่งไม่เท่ากันทั้งสองข้างโดยจะมีด้านที่มีความลาดชัน

                     มากกว่าและด้านที่มีความลาดชันต่ ากว่า หินชุดนี้อยู่ในหมวดหินพระวิหาร (Phra  Wihan  Formation)

                     กลุ่มหินโคราช (Korat  Group)  ในชั้นหินทรายแป้งมักจะพบแผ่นไมก้าอยู่ด้วย หินชุดนี้วางตัวแบบไม่ต่อเนื่อง
                     กับหินที่มีอายุแก่กว่าหินแสดงลักษณะรอยชั้นขวางซึ่งบ่งถึงการตกตะกอนโดยแม่น้ าเป็นตัวพัดพา หินชุดนี้

                     อยู่ในหมวดหินน้ าพองและหมวดหินภูกระดึง พบในบริเวณเทือกเขาพื้นที่รอยต่อระหว่างอ าเภอเขาค้อ กับ
                     อ าเภอหล่มเก่า อ าเภอหล่มสักและอ าเภอเมือง

                                    4) หินยุคไทรแอสซิกประกอบด้วย หินกรวดมน หินทราย หินทรายเนื้อปูน หินสีแดง
                     และหินทรายแป้ง โดยแผ่กระจายตัวบริเวณทางตอนเหนือวางตัวต่อเนื่องลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

                     พบมากบริเวณทางตอนเหนือของอ าเภอหล่มเก่า ทางด้านตะวันออกของอ าเภอน้ าหนาว อ าเภอหล่มสัก

                     และด้านตะวันตกของอ าเภอวิเชียรบุรี
                                    5) หินยุคเพอร์เมียน โผล่ให้เห็นตลอดแนวเทือกเขาเลย-เพชรบูรณ์จากเหนือจรดใต้

                     หินยุคเพอร์เมียนในบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยหินปูน หินดินดาน หินทราย และหินทรายแป้ง

                     เป็นส่วนใหญ่ บางแห่งมีหินโดโลไมต์และหินปูนเนื้อปูนโดโลไมต์ หินตะกอนเนื้อประสมและหินคาร์บอเนต
                     สลับกันมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันตลอด มีความหนามากและแผ่กระจายตัวเป็นลานคาร์บอเนต พบแผ่กระจาย

                     ตลอดแนวเทือกเขาทางทิศตะวันออกเป็นทิวเขาจากทางเหนือลงมาทางใต้ บริเวณพื้นที่บางส่วนของอ าเภอ
                     หล่มเก่า อ าเภอหล่มสัก อ าเภอเมือง อ าเภอหนองไผ่ อ าเภอวิเชียรบุรี และอ าเภอศรีเทพ

                                    6) หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินดินดาน หินทราย หินทรายเนื้อปน
                     กรวด หินทรายแป้ง และถ่านหิน นอกจากนั้นยังมีหินปูนสีเทาและเทาด าเป็นเลนส์แทรกในชั้นหินดินดาน

                     พบมากทางด้านทิศตะวันตกบริเวณตอนกลางทอดยาวลงมาถึงตอนล่างของจังหวัด บริเวณพื้นที่บางส่วน

                     ของอ าเภอวังโป่ง อ าเภอชนแดน อ าเภอบึงสามพัน และอ าเภอวิเชียรบุรี
                                    7) หินอัคนี (Igneous  rocks)ที่พบกระจายตัวอยู่ทั่วไปในพื้นที่บางส่วนของจังหวัด

                     เพชรบูรณ์ ได้แก่ หินบะซอลต์  หินโรโอไรต์ (หินยุคเทอร์เชียรี่) หินไบโอไทต์แกรนิต (ยุคหินไทรแอสซิก)

                     หินทัพฟ์ (ยุคหินไทรแอสซิก ถึง เพอร์เมียน)  หินแอนดิไซต์และหินไรโอไลต์ (ยุคหินเพอร์เมียน) โดยหินอัคนี
                     แบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ชนิด คือประเภทแรกคือหินอัคนีแทรกซอน ซึ่งเป็นหินอัคนีที่เกิดอยู่ในระดับลึก

                     โดยการตกผลึกจากหินหนืด มีลักษณะเนื้อหยาบหรือค่อนข้างหยาบที่รู้จักกันดีก็คือหินแกรนิตซึ่งมีความ
                     แข็งแกร่งสามารถน ามาใช้เป็นหินประดับได้ และประเภทที่2 คือหินภูเขาไฟเป็นหินที่เกิดจากการระเบิดของ

                     ภูเขาไฟที่พุขึ้นมาเย็นตัวบนผิวโลกหินชนิดนี้จะมีเนื้อละเอียดหรือเนียนเป็นเนื้อเดียวกันหมด พบมากบริเวณ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25