Page 23 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          12




                     2.2 สภาพเศรษฐกิจและสังคม
                             2.2.1 การปกครอง  จังหวัดเพชรบูรณ์แบ่งการปกครองตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร

                     ราชการแผ่นดิน พ.ศ.2543 ได้ก าหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการออกเป็น 3 ระดับ คือ
                                   1) ราชการส่วนกลาง คือส่วนราชการสังกัดส่วนกลาง ซึ่งมาจัดตั้งหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่

                     จังหวัดเพชรบูรณ์ มีทั้งหมด 51 หน่วยงาน

                                   2) ราชการส่วนภูมิภาค คือส่วนราชการประจ าจังหวัด 29 หน่วยงาน โดยมีส านักงานจังหวัด
                     เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารราชการ และเป็นศูนย์ประสานงานกับราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน

                     แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อ าเภอ ได้แก่ อ าเภอเมือง อ าเภอหล่มสัก อ าเภอหล่มเก่า อ าเภอชนแดน

                     อ าเภอหนองไผ่ อ าเภอบึงสามพัน อ าเภอวิเชียรบุรี อ าเภอศรีเทพ อ าเภอน้ าหนาว อ าเภอเขาค้อ และอ าเภอ
                     วังโป่ง จ านวนต าบลทั้งหมด 117 ต าบล  และจ านวนหมู่บ้านทั้งหมด 1,405 หมู่บ้าน

                                   3) ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง
                     เทศบาลต าบล 20 แห่ง และองค์การบริหารส่วนต าบล 105 แห่ง

                             ๒.๒.๒ ประชากรและอาชีพ
                                   จากข้อมูลสถิติของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559

                     พบว่าจังหวัดเพชรบูรณ์มีจ านวนประชากรทั้งหมด 995,223 คน โดยเป็นประชากรชาย 493,187 คน

                     หรือคิดเป็นร้อยละ 49.6 ปละประชากรหญิง 502,036 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 50.4  ความหนาแน่น
                     ของประชากรเท่ากับ 78.6 คนต่อตารางกิโลเมตร จ านวนประชากรเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 3.1 คน และ

                     จ านวนบ้านเฉลี่ยต่อหมู่บ้านเท่ากับ 240 หลังคาเรือน โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

                     ได้แก่ ท านาข้าว ท าไร่ข้าวโพด ถั่วเขียว ยาสูบ และท าสวนผลไม้ เช่น มะขามหวาน และมะม่วง ฯลฯ
                             ๒.๒.๓ สภาพทั่วไปด้านเศรษฐกิจ

                                   จากข้อมูลของส านักงานคลังจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross
                     Provincial Product : GPP) จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.ปี 2557 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ

                     7.95 ต่อปี โดยรายได้หลักมาจากภาคการเกษตรซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมูลค่า 28,790
                     ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 35.98 ของมูลค่าทั้งหมด และผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดที่มาจาก

                     นอกภาคเกษตรมีมูลค่า 51, 218 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 64.02 ของมูลค่าทั้งหมด และจากข้อมูล

                     การส ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2558  จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยส านักงานสถิติแห่งชาติ
                     พบว่ารายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 21,337  บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือน 16,141  บาทต่อ

                     เดือนหรือคิดเป็น ร้อยละ 75.65 ของรายจ่ายต่อรายได้ โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 148,667 บาทต่อครัวเรือน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28