Page 17 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                                                             บทที่ 2

                                                  ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดเพชรบูรณ์


                     2.1  ลักษณะทางภูมิศาสตร์
                             2.1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต

                                   จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย หรือในเขตภาคกลาง

                     ตอนบนของประเทศไทย ตามการแบ่งภูมิภาคประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ของราชบัณฑิตยสถาน
                     โดยใช้เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์  มีเนื้อที่ 12,339.76 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,712,350 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่าง

                     พิกัดเหนือ 1,694,700 เมตร ถึง 1,900,880 เมตร หรือละติจูด 15 องศา 19 ลิปดา 31 พิลิปดา ถึง
                     ละติจูด 17 องศา 10 ลิปดา 47 พิลิปดาเหนือ และพิกัดตะวันออก 674,920 เมตร ถึง 797,700 เมตร

                     หรือลองจิจูด 100 องศา 38 ลิปดา 6 พิลิปดา ถึงลองจิจูด 101 องศา 47 ลิปดา 30 พิลิปดาตะวันออก
                     โดยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

                             ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ าเภอด่านซ้าย อ าเภอภูหลวง อ าเภอภูกระดึง จังหวัดเลย

                             ทิศใต้ติด ต่อกับ อ าเภอชัยบาดาล อ าเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี อ าเภอเนินมะปราง อ าเภอวังทอง
                     อ าเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

                             ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ าเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น อ าเภอคอนสาร อ าเภอหนองบัวแดง

                     อ าเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ อ าเภอล าสนธิ จังหวัดลพบุรี
                             ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ าเภอไพศาลี อ าเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อ าเภอดงเจริญ อ าเภอ

                     ทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
                             2.1.2 สภาพภูมิประเทศ

                                   สภาพภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูง เนินเขาและพื้นที่ราบลุ่ม
                     แบบแอ่งกระทะ สภาพพื้นที่มีลักษณะลาดเทจากบริเวณตอนเหนือลงมาทางบริเวณตอนใต้ของจังหวัด

                     โดยพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นทิวเขาสูงของเทือกเขาเพชรบูรณ์มีลักษณะสลับซับซ้อนเป็นสันยาวต่อเนื่องกัน

                     วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่มีความลาดเทจากบริเวณตอนบนลงมาบริเวณตอนล่างของจังหวัด ตามขอบ
                     ด้านในบริเวณตอนกลางของจังหวัดทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออกโดยมีเทือกเขาขนาบ

                     กันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้ามีความสูงอยู่ระหว่าง 400 - 1,600 เมตร ส่วนบริเวณตอนกลาง

                     ลงมาถึงบริเวณพื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดเป็นพื้นที่เกือบราบและที่ราบมีความสูงอยู่ระหว่าง 60-200 เมตร
                     จากระดับทะเลปานกลาง แหล่งน้ าธรรมชาติที่ส าคัญ ได้แก่ แม่น้ าป่าสัก น้ าเชิญ น้ าเข็ก โดยแม่น้ าป่าสัก

                     เป็นแม่น้ าสายหลักที่ส าคัญซึ่งไหลผ่านพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดเพชรบูรณ์จากทิศเหนือลงไปทางทิศใต้ผ่าน
                     จังหวัดลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และลงสู่แม่น้ าเจ้าพระยา ท าให้จังหวัดเพชรบูรณ์มีทรัพยากรดิน

                     น้ า และป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่มีความเหมาะแก่การท าการเกษตรและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
                     มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังภาพที่ 2-1 และภาพที่ 2-2
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22