Page 24 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          13




                     ๒.๓ ทรัพยากรธรรมชาติ
                             2.3.1 ทรัพยากรดิน

                                   จากการศึกษาข้อมูลแผนที่ดิน มาตราส่วน 1: 25,000 ของส านักส ารวจดินและวางแผน
                     การใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งได้ท าการส ารวจ จ าแนกดิน และน ามาจัดท าข้อมูลกลุ่มชุดดินในระบบ

                     สารสนเทศภูมิศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2547 พบว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ภูเขาซึ่งเป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน

                     มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ (พื้นที่บริเวณนี้ยังไม่มีการศึกษา ส ารวจและจ าแนกดิน) มีเนื้อที่
                     มากที่สุด จ านวน 5771.05 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,606,907 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.77 ประกอบด้วย

                     พื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ลักษณะและสมบัติของดินที่พบไม่แน่นอน

                     มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด
                     ของหินต้นก าเนิดในบริเวณนั้นมักมีเศษหิน ก้อนหินหรือพื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุม

                     ด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือป่าดงดิบชื้น รองลงมาได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 4
                     เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ า พบในบริเวณที่ราบตะกอนน้ าพา มีสภาพพื้นที่

                     เป็นที่ราบลุ่มหรือ ที่ราบเรียบ มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ าเลวหรือค่อนข้างเลว
                     มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือ ดินเหนียวจัด 1263.94 ตารางกิโลเมตร หรือ 789,962 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                     10.24 กลุ่มชุดดินที่ 28 เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนล าน้ า หรือเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือ

                     เกิดจากการสลายตัวแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัตถุต้นก าเนิดดินที่มาจากหินต้นก าเนิดพวกหินบะซอลต์
                     หรือหินแอนดีไซต์ พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่อยู่ใกล้กับเขาหินปูน หรือหินภูเขาไฟ มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือ

                     ค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด

                     1,081.21 ตารางกิโลเมตร หรือ 675,756 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.76 กลุ่มชุดดินที่ 47 เป็นกลุ่มชุดดินที่
                     เกิดจากการสลายตัวผุพังของวัสดุเนื้อละเอียดที่มาจากทั้งหินตะกอน หรือหินอัคนี พบบริเวณพื้นที่ดอน

                     ที่มีสภาพพื้นที่เป็น ลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา เป็นดินตื้น มีการระบายน้ าดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว
                     หรือดินร่วนที่มี   เศษหินปะปนมาก มักพบชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50 ซม. สีดินเป็นสีน้ าตาล สีเหลืองหรือสีแดง

                     จ านวน 978.88 ตารางกิโลเมตร หรือ 611,797 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.93 กลุ่มดินทรายหนาที่เกิดจาก
                     ตะกอนล าน้ าหรือตะกอนเนื้อหยาบ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง การระบายน้ าค่อนข้างมาก

                     ความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีจ านวน 548.39 ตารางกิโลเมตร หรือ 342,742 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.44 และ

                     กลุ่มชุดดินและ พื้นที่อื่นๆ ดังภาพที่ 2-4 และตารางที่ 2-1
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29