Page 62 - การจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยโป่ง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงตอนบน ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง บ้านทุ่งดินดำ หมู 6 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       51







                              4.1.4 ลักษณะการท าการเกษตรในพื้นที่ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินแล้วพบว่า
                       พื้นที่ส่วนใหญ่ท าการเกษตรกรรมโดยปลูกพืชเชิงเดี่ยว พืชหลักที่ปลูกได้แก่ ข้าวโพด คิดเป็นร้อยละ
                       46.26 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยพบปลูกในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น และสภาพทรัพยากรดินเป็นดิน
                       ลึก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ต้นน้ ามีปริมาณฝนที่ตกหลายวัน และเป็นช่วงระยะเวลาที่

                       ต่อเนื่อง ดินจะไม่สามารถอุ้มน้ า และเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย
                              จากผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในพื้นที่โครงการพบว่าปัญหาหลักของพื้นที่ คือ สภาพ
                       ปัญหาในพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาพื้นที่ควรมี
                       การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ในพื้นที่สูงที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย  บริเวณที่เป็นพื้นที่

                       ลูกคลื่นอาจใช้การปลูกแฝกป้องกันการชะล้างพังทลายของดินร่วมด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรสามารถ
                       ท าการเกษตรโดยลดการชะล้างพังทลายของดินได้อย่างยั่งยืน

                              4.2 ผลการประเมินการสูญเสียดินก่อนจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า
                              จากสมการสูญเสียดินสากล (A  =  RKLSCP) สามารถประเมินการสูญเสียดินในแต่ละชุดดิน
                       ก่อนด าเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า พื้นที่ด าเนินการบ้านทุ่งดินด า หมู่ 6 ต าบลเมืองนะ อ าเภอ

                       เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดังนี้ (ตารางที่ 8)
                              ชุดดินบ้านจ้อง (หน่วยแผนที่ Bg-clB/d5E1) การสูญเสียดินอยู่ในระดับน้อย อัตราการ
                       สูญเสียดินอยู่ระหว่าง 2.07 – 3.27 ตันต่อไร่ต่อปี  โดยบริเวณพื้นที่ปลูกไม้ผล มีอัตราการสูญเสียดิน
                       2.07 ตันต่อไร่ต่อปี และพื้นที่ปลูกข้าวโพด มีอัตราการสูญเสียดิน 3.27 ตันต่อไร่ต่อปี

                              ชุดดินบ้านจ้อง (หน่วยแผนที่ Bg-clC/d5E1) การสูญเสียดินอยู่ในระดับน้อยมากถึงปานกลาง
                       อัตราการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 1.81 – 5.73 ตันต่อไร่ต่อปี
                              การสูญเสียดินระดับน้อยมาก พบบริเวณพื้นที่ปลูกยางพารา มีอัตราการสูญเสียดิน 1.81 ตัน

                       ต่อไร่ต่อปี การสูญเสียดินระดับน้อย พบบริเวณพื้นที่ปลูกไม้ผล มีอัตราการสูญเสียดิน 3.63 ตันต่อไร่
                       ต่อปี การสูญเสียดินระดับปานกลาง พบบริเวณพื้นที่ปลูกข้าวโพด มีอัตราการสูญเสียดิน 5.73 ตันต่อ
                       ไร่ต่อปี
                              ชุดดินบ้านจ้อง (หน่วยแผนที่ Bg-clD/d5E1) การสูญเสียดินอยู่ในระดับรุนแรง อัตราการ
                       สูญเสียดิน 19.48 ตันต่อไร่ต่อปี พบบริเวณพื้นที่ปลูกข้าวโพด

                              ชุดดินภูผาม่าน (หน่วยแผนที่ Ppm-clA/d5E0) การสูญเสียดินอยู่ในระดับน้อยมากถึงน้อย
                       อัตราการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 1.45 – 2.28 ตันต่อไร่ต่อปี
                              การสูญเสียดินระดับน้อยมาก พบบริเวณพื้นที่ปลูกไม้ผล มีอัตราการสูญเสียดิน 1.45 ตันต่อ

                       ไร่ต่อปี การสูญเสียดินระดับน้อย พบบริเวณพื้นที่ปลูกข้าวโพด มีอัตราการสูญเสียดิน 2.28 ตันต่อไร่
                       ต่อปี
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67