Page 61 - การจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยโป่ง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงตอนบน ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง บ้านทุ่งดินดำ หมู 6 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       50







                                                             บทที่ 4

                                                        ผลการด าเนินงาน

                       4.1 ผลการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ และปัญหาของพื้นที่ เพื่อก าหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
                              จากการตรวจเอกสารและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่  ได้ท าการศึกษารวบรวม น ามาวิเคราะห์

                       ถึงสภาพปัญหาของพื้นที่ สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่โครงการรายละเอียดดังนี้
                              4.1.1 สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ ลักษณะของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา มีระดับความลาด
                       ชัน 20-35 เปอร์เซ็นต์  ร้อยละ 31.20 และมีระดับความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ 9.83
                       พื้นที่โครงการจึงมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายสูง  อีกทั้งสภาพลักษณะพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นล ูก

                       คลื่นถึงร้อยละ 46.41 โดยมีความลาดชันที่แตกต่างกันไปตามระดับความลาดชัน การปลูกพืชเชิงเดี่ยว
                       เป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้มีระดับความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายสูงมากขึ้น
                              4.1.2 ปัญหาทรัพยากรดินในพื้นที่ จากการวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ดิน สรุปได้ดังนี้
                                     1) พื้นที่มีความลาดชันและเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน เป็นปัญหาส าคัญที่

                       ท าให้ดินเสื่อมโทรมโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 12 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ถ้าการใช้ประโยชน์
                       ที่ดินไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม ได้แก่ หน่วยแผนที่ชุดดินท่ายาง ชุดดินบ้านจ้อง ชุด
                       ดินภูผาม่าน และชุดดินวังสะพุง ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 12 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป มีพื้นที่ 706 ไร่ คิดเป็น

                       ร้อยละ 55.03 ของพื้นที่ทั้งหมด
                                     2) ดินตื้นถึงตื้นมากที่มีกรวดและเศษหิน เป็นดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน
                       หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน ท าให้เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช
                       การไถพรวน ปลูกพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ า ได้แก่ ชุดดินท่ายาง มีเนื้อที่ 168 ไร่ คิด
                       เป็นร้อยละ 13.12 ของพื้นที่ทั้งหมด และชุดดินตาคลี มีเนื้อที่ 85 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.64 ของพื้นที่

                       ทั้งหมด
                                     3) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า เป็นดินที่มีลักษณะและสมบัติต่าง ๆ
                       ทางเคมี เช่น อินทรียวัตถุ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ความอิ่มตัวเบส ปริมาณฟอสฟอรัส และ

                       โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ า ท าให้ธาตุอาหารในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีน้อย ได้แก่
                       ชุดดินบ้านจ้อง มีเนื้อที่ 199 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.47  ของพื้นที่ทั้งหมด และชุดดินภูผาม่าน มีเนื้อที่
                       55 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.24 ของพื้นที่ทั้งหมด
                              4.1.3  สภาพภูมิอากาศพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยโป่งมีปริมาณน้ าฝน เฉลี่ย 1,215.68 มิลลิเมตร

                       สามารถท าการเกษตร โดยมีปริมาณน้ าฝนที่เพียงพอ โดยปริมาณฝนที่มีน้ ามากเกินพอ จะอยู่ในช่วง
                       กลางเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนตุลาคม จากสภาพพื้นที่ซึ่งมีความลาดชัน รวมถึงสภาพพื้นที่ที่เป็น
                       ลูกคลื่น เมื่อเกิดฝนตกหนักในปริมาณที่มากจะส่งผลกระทบต่อการชะล้างพังทลายของดิน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66