Page 21 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       12








                       2.5 ทรัพยากรดิน

                              ทรัพยากรดินในพื้นที่ด้าเนินการ ประกอบด้วย 4  ชุดดิน 2  ดินคล้าย มีหน่วยแผนที่ดินรวม

                       8 หน่วย และหน่วยแผนที่เบ็ดเตล็ด 3 หน่วย (ตารางที่ 2 และภาพที่ 5) ลักษณะและสมบัติของดินมี
                       รายละเอียดดังนี้

                              1. ชุดดินชุมแพ (Cpa)
                              การจ้าแนกดิน : Fine, mixed, semiactive, isohyperthermic Aeric (Plinthic)

                       Endoaqualfs

                              พบบริเวณที่ราบตะกอนน้้าพา เกิดจากตะกอนน้้าพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้้าพา
                       สภาพพื้นที่มีลักษณะราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ ชุดดินนี้เป็น

                       ดินลึกมาก มีการระบายน้้าค่อนข้างเลวถึงเลว ดินมีความสามารถให้น้้าซึมผ่านได้ปานกลางในดินบน

                       และช้าในดินล่าง การไหลบ่าของน้้าบนผิวดินช้า และความอุดมสมบูรณ์ต่้า
                              ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้้าตาล สีน้้าตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็น

                       กรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย สีเทาปนชมพู

                       ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0)
                              ข้อจ้ากัดในการใช้ประโยชน์  คือ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า พืชปลูกอาจได้รับความเสียหาย

                       จากน้้าท่วม ในฤดูน้้าหลาก และขาดแคลนน้้าในฤดูแล้ง

                              ชุดดินชุมแพที่พบมี 1 ประเภท ได้แก่
                              หน่วยแผนที่ Cpa-silA/d5,E0 :  ชุดดินชุมแพ ที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแปูง ความ

                       ลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ ลึกมาก ไม่มีการกร่อน มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 24 ไร่ หรือ

                       0.60 เปอร์เซ็นต์
                              2. ดินกุลาร้องไห้ที่เป็นดินร่วนหยาบ (Ki-col)

                              การจ้าแนกดิน : Coarse-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic Natraqualfs
                              พบบริเวณที่ราบตะกอนน้้าพา เกิดจากตะกอนน้้าพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้้าพา สภาพ

                       พื้นที่มีลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2  เปอร์เซ็นต์  ดินนี้เป็นดินลึกมาก

                       มีการระบายน้้าเลว ดินมีความสามารถให้น้้าซึมผ่านได้ปานกลางถึงช้า การไหลบ่าของน้้าบนผิวดินช้า
                       และความอุดมสมบูรณ์ต่้า

                              ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย สีน้้าตาลปนเทา ปฏิกิริยาเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง
                       (pH 6.0-7.0) ในฤดูแล้งจะมีคราบเกลือบนผิวหน้าดิน ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย

                       สีเทา เป็นชั้นที่สะสมประจุโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ พบจุดปะสีน้้าตาล และสีน้้าตาลปนเหลืองตลอด
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26