Page 97 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 97

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                     78






                  เป็นร้อยละ 35.88 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา และพื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดินรุนแรง (5-15  ตัน/ไร่/ปี) เพิ่มขึ้นจาก

                  ร้อยละ 0.21 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา เป็นร้อยละ 0.65 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง
                  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร และระดับความรุนแรงของปัจจัยทางกายภาพในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขานี้

                        4.1.4 ทรัพยากรป่าไม้

                            พื้นที่ลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกร ที่มีพื้นที่ทั้งหมด 1,848,469 ไร่ เมื่อน ามาวิเคราะห์ในเรื่องของ
                  ทรัพยากรป่าไม้แล้ว พบว่ามีพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย (กรมป่าไม้, 2558) มีเนื้อที่ทั้งหมด 7,159 ไร่ แบ่งเป็น

                  เขตป่าสงวนแห่งชาติ มีเนื้อที่ 6,357 ไร่ หรือร้อยละ 0.34 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา เขตพื้นที่ป่าไม้เพื่อ
                  เศรษฐกิจ มีเนื้อที่ทั้งหมด 30,802 ไร่ หรือร้อยละ 1.67 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
                            เมื่อพิจารณาข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกรจะพบว่าสัดส่วนของ
                  เขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฏหมาย 37,159 ไร่ ต่อพื้นที่เกษตรกรรม 1,811,310 ไร่ ซึ่งมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน
                  จะเห็นได้จากสัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่เหมาะสมต่อการเกษตร มีเนื้อที่มากกว่าพื้นที่ป่าไม้ตามกฏหมาย

                  ซึ่งเป็นสาเหตุท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ ท าให้ประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ า มีการใช้
                  ประโยชน์ไม่เพียงพอ
                            และเมื่อพิจารณา จากสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่าพื้นที่ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู

                  มีเนื้อที่ 30,284 ไร่ พื้นที่ป่าผลัดใบสมบูรณ์ มีเนื้อที่ 8,999 ไร่ ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่าป่าผลัดใบสมบูรณ์ถึง
                  21,285 ไร่ (กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน, 2558) จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ และประชากรใน
                  พื้นที่ควรช่วยกันรักษาอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยการปลูกป่าเพิ่มเติม ให้เป็นแหล่งต้นน้ า และ
                  มีมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ป่าในชุมชน ให้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102