Page 56 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           44




                             4.2.4 บริเวณที่เป็นพื้นผิวที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน (erosion surface) เป็นบริเวณที่อยู่ใน
                  ระดับสูงกว่าบริเวณต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างเทือกเขากับบริเวณที่เป็นลานตะพักลําน้ําเก่า
                  ซึ่งอยู่ห่างไกลจากลําน้ํายม และไม่ได้เกิดจากอิทธิพลของแม่น้ํา เป็นบริเวณที่เกิดขึ้นเนื่องจากถูกขบวนการ

                  กัดกร่อนชะล้าง และการพังทลายของวัตถุต้นกําเนิด ซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลายาวนานมาก สภาพพื้นที่มี
                  ลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด ถึงลูกคลื่นลอนชัน และมีความลาดชันสูงมาก ดินในบริเวณนี้มีเนื้อดินแตกต่างกันไป
                  ขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกําเนิดของดิน

                             4.2.5 บริเวณพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง (hilly and mountainous area) เป็นบริเวณที่มีความลาดชันสูง
                  (ความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์) ของเนินเขาขึ้นไปจนถึงทิวเขาสูงต่างๆ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับจังหวัด

                  ใกล้เคียง
                  5. สภาพทางน้ําและแหล่งน้ํา


                        ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า มีแม่น้ําแม่ต้าเป็นแหล่งน้ําสายหลักในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ โดยไหลจากทิศ
                  เหนือไปทิศใต้ และลงสู่แม่น้ํายมในตอนล่าง อีกทั้งมีห้วยต่างๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ําแม่ต้า ได้แก่ ห้วยแม่ต้า ห้วยกอก
                  ห้วยกั้ง ห้วยกํา ห้วยกําน้อย ห้วยกําหลวง ห้วยเกี๋ยง ห้วยแก้ว ห้วยขวา ห้วยเขียง ห้วยคอกหมู ห้วยไคร้ ห้วยง้าว
                  ห้วยจะฆ่าน ห้วยดอกไม้ ห้วยดินดํา ห้วยเดือ ห้วยต้นตอง ห้วยตูบปุย ห้วยทรายขาว ห้วยทะลุ ห้วยน้อด

                  ห้วยบ่อแฮม ห้วยบ้านห่า ห้วยปล้อง ห้วยปอน ห้วยปอย ห้วยปางค่า ห้วยปาบง ห้วยปุง ห้วยปูไทย ห้วยปูเล
                  ห้วยผากลอง ห้วยผาเชีย ห้วยผาแดง ห้วยผานิด ห้วยผีลั้ว ห้วยฝาย ห้วยฟาง ห้วยไฟ ห้วยมะเขือ ห้วยแม่คาด
                  ห้วยแม่แจน ห้วยแม่แจ่ม ห้วยแม่ตุ้ม ห้วยแม่ทะ ห้วยแม่ทาม ห้วยแม่นากู ห้วยแม่ปุง ห้วยแม่ผง ห้วยแม่เผีย
                  ห้วยแม่พร้า ห้วยแม่สวก ห้วยแม่สูตร ห้วยแม่แหลง ห้วยแม่อิม ห้วยร่องกวา ห้วยลุก ห้วยสะเลียง ห้วยหยวก

                  ห้วยหอย ห้วยเหล็ก ห้วยไหนาย ห้วยอุ่นเย็น และห้วยแฮ่ ดังแสดงในภาพที่ 8

                  6. สภาพการใช้ที่ดินและพืชพรรณธรรมชาติ

                        สภาพการใช้ที่ดินบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า (กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน, 2559) ประกอบด้วย
                  ประเภทการใช้ที่ดินต่างๆ ดังต่อไปนี้ (ตารางที่ 4 และภาพที่ 9)

                             1) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 4,505 ไร่ หรือร้อยละ 1.397 ของเนื้อที่ทั้งหมด
                  ประกอบด้วยหมู่บ้านบนพื้นราบ สถานที่ราชการ และสถาบันต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม ลานตาก และแหล่ง
                  รับซื้อทางการเกษตร และสุสานป่าช้า

                             2) พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 70,577 ไร่ หรือร้อยละ 21.885 ของเนื้อที่ทั้งหมด ประกอบด้วย

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ดังต่อไปนี้

                                - พื้นที่นา มีเนื้อที่ 17,134 ไร่ หรือร้อยละ 5.313 ของเนื้อที่ทั้งหมด ได้แก่ นาร้าง และนาข้าว

                                - พืชไร่ มีเนื้อที่ 47,014 ไร่ หรือร้อยละ 14.578 ของเนื้อที่ทั้งหมด ได้แก่ ไร่ร้าง ข้าวโพด
                  และมันปะหลัง
                                - ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 5,869 ไร่ หรือร้อยละ 1.820 ของเนื้อที่ทั้งหมด ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ํามัน

                  สัก ไผ่ปลูกเพื่อการค้า และจามจุรี
                                - ไม้ผล มีเนื้อที่ 488 ไร่ หรือร้อยละ 0.151 ของเนื้อที่ทั้งหมด ได้แก่ ไม้ผลผสม ส้ม มะม่วง

                  กล้วย มะขาม และลําไย
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61