Page 61 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           49




                                                            บทที่ 5

                                    ผลการศึกษากระบวนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS


                  1. แนวทางการพัฒนาวิธีการจัดทําและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยี GIS

                        ในอดีตวิธีการสํารวจ และทําแผนที่ดินแบบค่อนข้างละเอียด (semi-detailed survey) จําเป็นต้องแปล

                  ภาพถ่ายทางอากาศโดยกล้องสเตอริโอ (stereoscope) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นที่ทั่วๆ ไป แล้วแบ่งขอบเขต
                  ตามสภาพพื้นที่ ความลาดชัน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงการเขียนขอบเขตของดินเพื่อกําหนด
                  จุดตรวจสอบดินโดยสังเขป ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามาก รวมถึงผู้แปลภาพถ่ายยังต้องมีความเชี่ยวชาญ
                  ในการใช้อุปกรณ์เป็นอย่างมาก อีกทั้งภาพถ่ายทางอากาศมีข้อเสียหลายอย่าง เช่น มาตราส่วนของภาพถ่าย

                  ทางอากาศในจุดต่างๆ ไม่เท่ากัน เนื่องจากความเอียงของแกนกล้องถ่ายรูป รายละเอียดบางชนิดบนภาพถ่าย
                  ทางอากาศอาจถูกบังได้ ทําให้มองไม่เห็นรายละเอียดนั้นๆ ได้ ตําแหน่งที่ตั้งยังเป็นค่าโดยประมาณ อีกทั้งความ
                  แตกต่างด้านความสูงของพื้นที่จะไม่ปรากฏ หากไม่มีภาพถ่ายทางอากาศที่เหลื่อมกัน และกล้องมองภาพสามมิติ
                  (ภาพที่ 10) เป็นต้น (ชัชวาลย์, 2538)



                                                                     (ก)                                (ข)




















                  ภาพที่ 10 การมองภาพคู่สามมิติด้วยกล้องสเตอริโอ (ก) และภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน 1:15,000 (ข)
                  ที่มา: Landmanager (2018)

                        ปัจจุบันมีการประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม

                  คมนาคม กฎหมาย งานด้านการสํารวจ และวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น โดยการนํามาใช้ในการวิเคราะห์
                  ข้อมูลเชิงพื้นที่ การวางแผนการสํารวจในด้านต่างๆ การประเมิน จัดเก็บและนําเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ อีกทั้ง
                  ยังใช้ในการนําเสนอข้อมูล และจัดทําแผนที่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการนํา GIS มาประยุกต์ใช้ร่วมกับงานด้านต่างๆ

                  สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง
                  ยังสามารถช่วยลดระยะเวลาการทํางาน และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานอีกด้วย
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66