Page 80 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           61



                           2) ชุดดินบุรีรัมย์ (Buri Ram series: Br)
                             การจําแนกดิน : Fine, smectitic, isohyperthermic Ustic Epiaquerts
                             ชุดดินบุรีรัมย์เป็นดินเหนียว ลึก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ และ/หรือเศษหินเชิงเขาของ

                  หินบะซอลต์บริเวณส่วนต่ําของลาวาหลากบริเวณลานตะพักระดับต่ําของพื้นที่ภูเขาไฟ พบในสภาพพื้นที่มี
                  ลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0 - 2 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง
                  โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
                             เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด สีดินเป็นสีเทาเข้มหรือสีน้ําตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ําตาลปน
                  แดงเข้ม ในฤดูแล้งจะมีรอยแตกระแหงกว้างและลึกและมีรอยไถลในหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง

                  ถึงเป็นกลาง (pH 6.0 - 7.0) ในดินบน และเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0 - 8.0) ในดินล่าง อาจพบ
                  ก้อนหินบะซอลต์ในหน้าตัดดิน

                           3) ชุดดินบุญฑริก (Buntrarik series: Bt)
                             การจําแนกดิน : Fine-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic (Plinthaquic) Paleustults

                             ชุดดินบุญฑริกเป็นดินร่วนละเอียด ลึก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือตะกอนของหิน
                  ตะกอนเนื้อหยาบที่ถูกชะมาทับถมอยู่บริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะ
                  ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน 0 - 5 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว
                  โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา

                             ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีน้ําตาลปนเทา ถัดลงไปมีสีน้ําตาลหรือสี
                  น้ําตาลซีด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0 - 6.0) ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
                  หรือดินเหนียวปนทราย สีน้ําตาลถึงสีเทาปนน้ําตาล พบจุดประสีแดงของศิลาแลงอ่อน และพบเศษหินทรายที่
                  กําลังสลายตัวปะปนในเนื้อดิน ในระดับความลึก 100 - 150 เซนติเมตร ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็น

                  กรดจัดมาก (pH 4.5 - 5.0)

                           4) ชุดดินเชียงคาน (Chiang Khan series: Ch)
                             การจําแนกดิน : Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic Kandiustults
                             ชุดดินเชียงคานดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบปริมาณมาก ตื้นหรือตื้นมากถึงชั้นลูกรังหนาแน่น

                  ภายใน 50 เซนติเมตรจากผิวดิน เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของ
                  หินตะกอนเนื้อละเอียดและหินแปร เช่น หินดินดาน หินทรายแป้ง หินโคลน หินชนวน หินฟิลไลท์ พบในสภาพ
                  พื้นที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน ความลาดชัน 2 - 20 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี โดยทั่วไป
                  มีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา

                             ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนลูกรัง สีน้ําตาลเข้มหรือสีน้ําตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดิน
                  เป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0 - 7.0) ดินล่างเป็นดินเหนียวปนลูกรังหนาแน่นมาก สีแดงหรือสีแดง
                  ปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5 - 5.5) พบจุดประสีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดง
                  ในชั้นหินที่ผุพังสลายตัว ลูกรังในชุดดินเชียงคานส่วนใหญ่เป็นเศษหินที่ถูกเคลือบด้วยสารประกอบออกไซด์

                  ของเหล็ก (pseudo-laterite)
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85