Page 81 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 81

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           62



                           5) ชุดดินชุมพลบุรี (Chumphon Buri series: Chp)
                             การจําแนกดิน : Coarse-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic (Oxyaquic) Dystrustepts
                             ชุดดินชุมพลบุรีเป็นดินร่วนหยาบ ลึกมาก เกิดจากตะกอนน้ําพามาทับถมอยู่บนสันดินริมน้ํา

                  พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 0 - 5 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ํา
                  ดีปานกลางถึงดี โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                             เนื้อดินเป็นพวกดินร่วน ดินทรายปนดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนปนทรายแป้ง ขึ้นอยู่กับ
                  ชนิดของตะกอนที่น้ําพามาทับถมในแต่ละปี โดยแต่ละชั้นเนื้อดิน และสีจะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน มีสีน้ําตาล
                  น้ําตาลเข้มหรือสีน้ําตาลซีด จะพบจุดประสีน้ําตาลแก่ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 5.0 - 5.5)

                  ในดินบน และเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 4.5 - 6.5) ในดินล่าง

                           6) ชุดดินชํานิ (Chamni series : Cni)
                             การจําแนกดิน : Fine-silty, mixed, semiactive, isohyperthermic Aquic (Plinthic) Haplustalfs
                             ชุดดินชํานิเป็นดินทรายแป้งละเอียด ลึก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือตะกอนของหิน

                  ตะกอนพวกหินทรายแป้งที่ถูกชะมาทับถมอยู่บริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน พบในสภาพพื้นที่มี
                  ลักษณะค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 1 - 2 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว โดยทั่วไป
                  มีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                             ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้ง สีน้ําตาลอ่อนหรือสีน้ําตาลปนเทา มีจุดประสีน้ําตาลแก่

                  หรือสีน้ําตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลางในชั้นดินบน (pH 5.0 - 7.0) ดินล่างเป็นดินร่วน
                  ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง และเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งในดินล่างลึกลงไป สีน้ําตาลอ่อน
                  หรือสีเทาปนชมพู และมีสีเทาอ่อนในดินล่างลึกลงไป มีจุดประสีน้ําตาลแก่หรือสีน้ําตาลปนเหลือง และมีสีแดง
                  ปนเหลืองหรือสีแดงในดินชั้นล่าง และพบศิลาแลงอ่อนปริมาณ 2 - 20 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ภายในความลึก 150

                  เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (pH 6.5 - 7.0) และอาจพบชั้นวัตถุต้นกําเนิดดิน
                  พวกหินทรายแป้งภายในความลึก 150 เซนติเมตร

                           7) ชุดดินชุมแพ (Chum pae series: Cpa)
                             การจําแนกดิน : Fine, mixed, active, isohyperthermic Aeric (Plinthic) Epiaqualfs

                             ชุดดินชุมแพเป็นดินเหนียว ลึกมาก เกิดมาจากตะกอนน้ําพาทับอยู่บนหินตะกอน พบในสภาพ
                  พื้นที่มีลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0 - 2 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําค่อนข้างเลวถึง
                  เลว โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                             ดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว สีน้ําตาลอ่อน มีจุดประสีน้ําตาลแก่

                  หรือสีน้ําตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0 - 7.0) ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียว
                  ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียว สีเทาอ่อน สีน้ําตาลปนเทาจางหรือสีเทา มีจุดประสีแดง และพบศิลาแลง
                  อ่อนปริมาณ 2 - 20 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ภายในความลึก 150 เซนติเมตรจากผิวดิน อาจพบก้อนเหล็กและ
                  แมงกานีสสะสมในดินล่าง และพบชั้นหินตะกอนที่อาจมีปูนปนภายในความลึก 150 เซนติเมตร ปฏิกิริยาดิน

                  เป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างจัด (pH 6.5 - 8.5)
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86