Page 57 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           41



                        6.6 การใช้เป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก

                           อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก คือ พื้นที่หลังเขื่อนหรือหลังคันดิน เป็นที่รวบรวมและเก็บกักน้ําไว้เพื่อใช้
                  ประโยชน์ ความจุอ่างเก็บน้ําไม่เกิน 1,000,000 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ท้องอ่างเก็บน้ํา โดยปกติจะไม่ทําการ
                  เปลี่ยนแปลง นอกจากจะขุดวัสดุที่เป็นดินเอาไปใช้ทําคันดิน วัสดุที่ใช้ก่อสร้างคันดินจะต้องจัดระดับข้อจํากัดไว้

                  ต่างหาก ไม่ใช่ข้อจํากัดเดียวกับอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก สมบัติของดินที่มีผลต่อการรั่วซึมของอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก
                  ได้แก่ สภาพให้ซึมได้ของดิน ความลึกของชั้นหินผุหรือชั้นที่น้ําซึมผ่านได้ง่าย และความลาดชันของพื้นที่
                  (สุวณี, 2538; Land Classification Division and FAO Project Staff, 1973)

                  ตารางที่ 26 ความเหมาะสมของดินเพื่อใช้เป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ํา (soil suitability for pond resevior area)



                      สัญลักษณ์     สมบัติของดินที่มีผลต่อ                ระดับความเหมาะสม
                     ของข้อจํากัด     การใช้ประโยชน์
                                                                ดี              ปานกลาง        ไม่เหมาะสม
                         k      สภาพให้ซึมได้ของดินใต้ความลึก  ช้า, ช้ามาก   ค่อนข้างช้าถึงปานกลาง  ค่อนข้างเร็วถึงเร็ว
                                ของพื้นที่อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก   (<0.5)          (0.5-5)          (>5)
                                (cm/hr)
                         m      ความลึกของชั้นซาบซึมน้ํา   ลึกมากกว่า 180    ระหว่าง 90-180     ตื้นกว่า 90
                                (ซม.)
                         t      ความลาดชัน (%)                  0-8              8-15             >15



                        6.7 การใช้สร้างคันกั้นน้ํา


                           คันกั้นน้ําสร้างขึ้นโดยใช้วัสดุที่เป็นดินก่อสร้างขวางทางระบายน้ําเพื่อกักเก็บน้ําไว้ใช้ โดยปกติแล้ว
                  คันกั้นน้ําจะสูงไม่เกิน 20 ฟุต ใช้วัสดุที่เป็นดินล้วนๆ บดอัดแน่นจนถึงระดับความหนาแน่นปานกลาง (คันดิน
                  ประเภทมีแกนไม่ได้จัดระดับตามข้อจํากัดนี้) โดยมีสมมติฐานว่าบริเวณนั้นมีฐานรากมั่นคง พื้นที่เก็บกักน้ํา และ
                  ความลาดชันเหมาะสม


                           สมบัติของดินที่ใช้ในการพิจารณา ได้แก่ เนื้อดิน (ตามการจําแนกดินในระบบ Unified) สภาพให้ซึมได้
                  ของดินหลังการบดอัด ความมั่นคงของความลาดชันของสันดิน (slope stability) การยุบอัดตัวของดิน
                  (compressibility) การต้านทานต่อการเกิดโพรงท่อและการกร่อน (resistance to piping and erosion)
                  ความหนาของชั้นดินที่เหมาะสม และปริมาณหินโผล่ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการขุดดิน (สุวณี, 2538; Land
                  Classification Division and FAO Project Staff, 1973) ซึ่งการพิจารณาข้อจํากัด a ให้พิจารณาจากการ

                  จําแนกดินในระบบ Unified เป็นหลัก สมบัติในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดินหลังการบดอัด ความมั่นคงของความ
                  ลาดชันของสันดิน การยุบอัดตัวของดิน การต้านทานต่อการเกิดโพรงท่อและการกร่อน เป็นสมบัติของดินที่
                  สอดคล้องกับการจําแนกดินในระบบ Unified
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62