Page 60 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           43



                        6.8 การใช้ทําระบบบ่อเกรอะ

                           บ่อเกรอะหรือถังหมัก (septic tank) เป็นถังหรือบ่อคอนกรีต ซึ่งฝังไว้ใต้ดินเพื่อรองรับสิ่งปฎิกูลหรือ
                  ของเสีย น้ําทิ้งที่ออกจากบ่อเกรอะหรือถังหมักจะระบายลงสู่พื้นดิน การดูดซึมน้ําทิ้งจะมีประสิทธิภาพหรือไม่
                  ขึ้นอยู่กับสมบัติของดิน ได้แก่ สภาพให้ซึมได้ของดิน ศักยภาพในการยึดและหดตัวของดิน ความลึกของระดับ

                  น้ําใต้ดิน สภาพน้ําท่วม และความลึกถึงชั้นหินพื้น (สุวณี, 2538; Land Classification Division and FAO
                  Project Staff, 1973)

                  ตารางที่ 28 ความเหมาะสมของดินเพื่อใช้ทําระบบบ่อเกรอะ (suitability of soil for septic tanks)

                                                                       ระดับของความเหมาะสม
                     สัญลักษณ์   สมบัติของดินที่มีผลต่อ
                    ของข้อจํากัด    การใช้ประโยชน์            ดี             ปานกลาง           ไม่เหมาะสม


                         k      สภาพให้ซึมได้ของดินใต้  เร็ว, ค่อนข้างเร็ว และ ปานกลางค่อนข้างไป  ค่อนข้างช้าและช้า
                                ความลึกของบ่อเกรอะ     ปานกลางค่อนข้างไป  ทางช้า
                                                       ทางเร็ว
                         l      ศักยภาพในการยืดและหด          ต่ํา            ปานกลาง              สูง
                                ตัวของดิน
                         h      ความลึกของระดับน้ําใต้ดิน  ลึกกว่า 150     ระหว่าง 100-150     ตื้นกว่า 100
                                ในฤดูฝน (ซม.)
                         f      อันตรายจากน้ําท่วม           ไม่มี              ไม่มี        บางครั้ง-บ่อยครั้ง

                         c      ความลึกถึงชั้นหินพื้น (ซม.)   ลึกกว่า 150   ระหว่าง 120-150    ตื้นกว่า 120


                         t      ความลาดชัน (%)               0-9                9-15              >15


                         p      การจําแนกชั้นของก้อนหิน      <0.1              0.1–3               >3
                                ปริมาณก้อนหินขนาดเส้น    class 0 และ 1         class 2       class 3, 4 และ 5
                                ผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10 นิ้ว
                                ที่พบอยู่บนผิวดิน (%)
                         r      การจําแนกชั้นของหินโผล่       <2                2-10             >10
                                ปริมาณหินพื้นที่โผล่อยู่     class 0           class 1      class 2, 3, 4 และ 5
                                บนดิน (%)
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65