Page 50 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                             อุปกรณ์ เครื่องมือและวิธีด าเนินการ



                          อุปกรณ์และเครื่องมือ

                           (1) เครื่อง X-ray fluorescence spectrophotometer Philip PW 1480 มีสแกนเดียม (Sc)

                       เป็นแหล่งก าเนิดรังสี การท างานของเครื่องควบคุมด้วย Software x40 ที่บรรจุอยู่ในคอมพิวเตอร์ ผล
                       การวิเคราะห์จะถูกส่งออกมาที่เครื่องพิมพ์ (ภาพที่ 3)


                           (2) เครื่องบดดิน Spectrompll (ภาพที่ 4)

                           (3) เครื่องอัดดิน Spex hydraulic press (ภาพที่ 5)

                           (4) ตู้อบ (Oven)


                          สารเคมี

                           (1) สารตัวอย่างมาตรฐาน (Certificate standard materials) ของ BCS และ NBS

                           (2) ก๊าซอาร์กอน (10 % มีเทน)


                           (3) กรดบอริค (H BO )
                                         3
                                             3
                          การเตรียมตัวอย่างดิน
                           (1) น าตัวอย่างดินที่บดแล้วขนาด 2 มิลลิเมตร บดให้ละเอียดโดยเครื่อง  Spectromill จนได้

                       ตัวอย่างที่มีความละเอียดขนาดเล็กกว่า 200 เมช (mesh)

                           (2) อัดดินที่บดละเอียดแล้วประมาณ 5 กรัม โดยใช้กรดบอริกเป็นฐานแล้วอัดด้วยเครื่องอัด

                       Spex  hydraulic  press  อัดดินด้วยแรงดัน 10 ตันต่อตารางนิ้ว ประมาณ 30 วินาที ดินที่ถูกอัดให้

                       แน่นเป็นแผ่นแล้ว เรียกว่า Pellet (ภาพที่ 6)

                           (3) เขียนหมายเลขตัวอย่างดินไว้ด้านหลังของ Pellet และเก็บไว้ในถุงพลาสติก ปิดฝาให้สนิท

                       อย่าให้ผิวหน้าของ Pellet สัมผัสสิ่งปนเปื้อน มิฉะนั้นจะท าให้ผลการวิเคราะห์ผิดพลาดได้

                           (4) ในกรณีที่ตัวอย่างร่วนเกินไปไม่สามารถอัดเป็นแผ่นหรือเม็ดได้ จ าเป็นต้องใส่ตัวยึดเหนี่ยว

                       (Binder)  ผสมเข้าไปในตัวอย่างดิน เช่น กรดบอริค โดยอัตราส่วนจะขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวอย่าง
                       เมื่อเติมสารเชื่อมเข้าไปในตัวอย่างแล้วจะต้องบดอีกครั้งเพื่อให้ตัวอย่าง และสารเชื่อมรวมเป็นเนื้อ

                       เดียวกันมากที่สุด ก่อนน าไปอัดเป็นแผ่นตามข้อ 2


                          การวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม (Total analysis)

                           เตรียมตัวอย่างด้วยวิธี pressed powder แล้ววิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบโดยใช้เครื่อง
                       X-Ray  fluorescence  spectrophotometer  (XRF) (Jones,  1982;  Norrish  and  Chappell,

                       1977)

                                                                                                       37
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55