Page 53 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                          วิธีด าเนินการ


                               ขั้นตอนการด าเนินการ ประกอบด้วย

                               1. รวบรวมข้อมูลดิน ประกอบด้วยข้อมูลกลุ่มชุดดิน และชุดดินที่จัดตั้งในประเทศไทย วัตถุ

                       ต้นก าเนิดดิน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                               2. รวบรวมข้อมูลผลวิเคราะห์ดิน ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมที่วิเคราะห์โดยเครื่อง X-ray

                       fluorescence spectrometer ในช่วงสิบปีย้อนหลัง (2544-2553) ข้อมูลที่รวบรวมได้ส่วนใหญ่เป็น

                       ข้อมูลชุดดิน จ านวน 143   ชุดดิน จากจ านวนหน้าตัดดิน (Soil  profile)  ทั้งสิ้น  503 หน้าตัดดิน
                       ของจ านวนตัวอย่างทั้งหมด  2,238  ตัวอย่าง


                               3. จัดหมวดหมู่โดยน าหน้าตัดดินของชุดดิน (Soil series) เดียวกันไว้ด้วยกัน พร้อมบันทึก
                       ข้อมูลปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมทั้ง 12 ธาตุ ค่าบางค่าที่ผลวิเคราะห์อยู่สูงหรือต่ าเกินไปจากค่า

                       ส่วนใหญ่ในแต่ละชุดดินถูกตัดออกไป เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในเชิงสถิติ ดังนั้นจ านวนข้อมูล

                       ทั้งหมดของค่าวิเคราะห์แต่ละค่าจึงมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เนื่องจากจุดเก็บตัวอย่างในชุดดิน
                       เดียวกันมีแหล่งที่มาของสถานที่เก็บตัวอย่างแตกต่างกัน


                               4. ข้อมูลที่รวบรวมได้ส่วนใหญ่เป็นการเก็บตัวอย่างดินตามวิธีการส ารวจดิน ซึ่งจะเก็บ
                       ตัวอย่างดินตามระดับความลึกของแต่ละชั้นดิน (Soil horizon) ท าให้ข้อมูลที่ได้มีความแตกต่างกันใน

                       แต่ละระดับความลึกของชั้นดินตามลักษณะที่ปรากฏในแต่ละหน้าตัดดิน ดังนั้นจึงจ าเป็นที่จะต้องปรับ
                       ค่าวิเคราะห์ดินของทุกหน้าตัดดินให้อยู่ที่ระดับความลึกเดียวกัน ในที่นี้ก าหนดระดับความลึก 2 ระดับ

                       คือ ดินบน (Topsoil) 0-50 เซนติเมตร และดินล่าง (Subsoil) 50-100 เซนติเมตร ซึ่งจะใช้เป็นระดับ

                       ความลึกที่จะกล่าวถึงตลอดการศึกษานี้ การปรับค่าดังกล่าวใช้การค านวณโดยวิธีการถ่วงน้ าหนัก
                       (Weighted average) ด้วยโปรแกรม Spline Tool V2.0


                               5. เมื่อปรับค่าวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมทั้ง 12 ธาตุของทุกหน้าตัดดินให้อยู่ที่
                       ระดับความลึกเดียวกันเรียบร้อยแล้ว ท าการจัดกลุ่มชุดดินโดยน าชุดดินทั้งหมดที่รวบรวมได้ จัดให้อยู่

                       ใน 62 กลุ่มชุดดินที่กรมพัฒนาที่ดินจัดหมวดหมู่กลุ่มชุดดินไว้ โดยยึดตามหนังสือมหัศจรรย์พันธุ์ดิน
                       (2548) ของส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน เป็นเกณฑ์ และจากจ านวน 62

                       กลุ่มชุดดินนี้ สามารถแบ่งตามลักษณะสภาพแวดล้อมที่พบได้อีก 3 กลุ่มใหญ่ คือ

                                  (1) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง (ตารางที่ 12)


                                  (2) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง (ตารางที่ 13)

                                  (3) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น (ตารางที่ 14)






                                                                                                       40
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58