Page 183 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 183

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 100 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                กลุ่มชุดดินที่ 26 (Group 26) ดินเหนียวลึกถึงลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ าหรือวัตถุ

                                  ต้นก าเนิดดินเนื้อละเอียด ได้แก่ ชุดดินอ่าวลึก (Ak) ชุดดินห้วยโป่ง (Hp) ชุดดินกระบี่
                                  (Kbi) ชุดดินโคกกลอย(Koi) ชุดดินล าภูรา (Ll) ชุดดินประทิว (Ptu) ชุดดินภูเก็ต (Pk) ชุด

                                  ดินปากจั่น (Pac) ชุดดินพังงา (Pga) และชุดดินท้ายเหมือง (Tim)

                                กลุ่มชุดดินที่ 27 (Group 27) ดินเหนียวจัดสีแดงลึกมากที่เกิดจากหินภูเขาไฟ ปฏิกิริยา
                                  ดินเป็นกรดจัด ได้แก่ ชุดดินหนองบอน (Nb) และ ชุดดินท่าใหม่ (Ti)


                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ
                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม เป็นข้อมูล

                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 65.77 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ

                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่ 25 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเครือสหาย (Affinity
                       groups) ภาพที่ 25ก


                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) ซิลิคอน (Si)

                               กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt) โซเดียม (Na)  แคลเซียม (Ca)

                       แมกนีเซียม (Mg) และโพแทสเซียม (K)

                               กลุ่มที่ 3  ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe)

                       แมงกานีส (Mn) ฟอสฟอรัส (P) ก ามะถัน (S) ไทเทเนียม (Ti) และสังกะสี (Zn)

                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 25ข ของกลุ่มชุดดินใน

                       พื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้นของกลุ่มดินเหนียว  พบว่า ดินทั้งสองกลุ่มชุดดินมีความสม่ าเสมอ ยกเว้น
                       ชุดดินหนองบอน (Nb) บางตัวอย่างซึ่งเป็นดินในกลุ่มชุดดินที่ 27 ที่มีปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้ง

                       และโพแทสเซียม (แร่เฟลด์สปาร์) สูง ในขณะที่ ชุดดินพังงา (Pga) และชุดดินท้ายเหมือง (Tim) บาง

                       ตัวอย่าง มีปริมาณแคลเซียม และโพแทสเซียมสูง ท าให้ดินในชุดนี้แยกออกมาจากชุดดินอื่น











                                                                                                      170
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188