Page 188 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 188

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 32 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                 กลุ่มชุดดินที่ 34 (Group  34)  ดินร่วนละเอียดลึกถึงลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ า

                                   หรือวัตถุต้นก าเนิดดินเนื้อหยาบ ได้แก่ ชุดดินฉลอง (Chl)  ชุดดินฝั่งแดง (Fd)  ชุดดิน
                                   คลองท่อม (Km)  ชุดดินคลองนกกระทุง (Knk)  ชุดดินนาท่าม (Ntm)  ชุดดินปากคม

                                   (Pkm) และ ชุดดินท่าแซะ (Te)

                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ

                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม เป็นข้อมูล

                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 53.64 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ
                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่  26 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเครือสหาย (Affinity

                       groups) ภาพที่ 26ก

                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt) อะลู

                       มินัม (Al) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โซเดียม (Na) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม
                       (Mg) ฟอสฟอรัส (P) ก ามะถัน (S) ไทเทเนียม (Ti) และสังกะสี (Zn)


                               กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) ซิลิคอน (Si)

                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 26ข ของกลุ่มชุดดินใน

                       พื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้นของกลุ่มดินร่วนละเอียด พบว่า ดินในกลุ่มชุดดินนี้ผลการวิเคราะห์ปริมาณ
                       ธาตุองค์ประกอบรวมมีความแปรปรวนน้อย (ร้อยละ 53.64 ของความผันแปร) เนื่องจากดินในกลุ่มนี้

                       เป็นดินที่มีพัฒนาการสูงจึงมีความสม่ าเสมอของธาตุองค์ประกอบต่าง ๆ  (Trakoonyingcharoen,

                       2005)




















                                                                                                      175
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193