Page 31 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       23



                       3.4 กำรวิเครำะห์ปริมำณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์

                              โพแทสเซียมในดินจะมาจากการสลายตัวผุพังของหินและแร่ที่มีโพแทสเซียมเป็น
                       องค์ประกอบ แร่ที่ส าคัญได้แก่ พวกโพแทสเฟลด์สปาร์ ที่มีแร่ไมโครไคลน์ (microcline) และออร์โท

                       เคลส (orthoclase) กับพวกไมกา ซึ่งมีแร่มัสโคไวต์ (muscovite) และไบโอไทต์ (biotite)
                       โพแทสเซียมในส่วนนี้มีอยู่ในปริมาณมากถึง 90-98 % โพแทสเซียมในดินมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปคือ fixed
                       K, exchangeable K และ soluble K รูปที่พืชสามารถน าไปใช้ได้คือ exchangeable K และ
                       soluble K ส าหรับ soluble K นั้น พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายแต่ในดินมีปริมาณน้อยมาก

                       จึงไม่น ามาใช้ในการประเมินปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์  โพแทสเซียมในดินในรูปต่างๆ จะ
                       อยู่ในสภาวะที่สมดุลเสมอ กล่าวคือ เมื่อรากพืชดูด exchangeable K  (readily available K) ไปใช้

                       ประโยชน์อยู่เสมอจนมีระดับต่ ามาก โพแทสเซียมในดินที่ถูกตรึงไว้จะถูกปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูปที่
                       พืชดูดกินได้ (readily available) ซึ่งการปลดปล่อยนี้จะเร็วหรือช้าขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิดของ

                       อนุภาคคอลลอยด์ (soil colloid) และความชื้นของดิน เป็นต้น

                              การวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน คือการสกัดตัวอย่างดินด้วย
                       สารละลายแอมโมเนียมอะซิเตท (NH4OAc) 1 N pH 7 (Jackson,1958) โดยแอมโมเนียมไอออน
                       (NH4 ) จะเข้าไปแลกเปลี่ยนกับโพแทสเซียมให้ออกมาอยู่ในสารละลาย ซึ่งโพแทสเซียมในส่วนนี้จะ
                           +
                       เป็นดัชนีที่จะบอกถึงความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมในดิน


                              อุปกรณ์และเครื่องมือ
                                 1.  เครื่อง Flame photometer

                                 2.  เครื่อง pH meter
                                 3.  เครื่องเจือจางสารละลายอัตโนมัติ (auto dilutor)
                                 4.  เครื่องชั่ง (balance)
                                 5.  เครื่องเขย่า (shaker)

                                 6.  ขวดรูปชมพู่ (erlenmeyer flask) ขนาด 50 mL
                                 7.  กระดาษกรอง (filter paper) whatman เบอร์ 5 เส้นผ่าศูนย์กลาง 12.50 cm
                                 8.  ปิเปตต์ (pipette) ขนาด 5 , 10 และ 20 mL
                                 9.  กระบอกตวง (cylinder) ขนาด 25 mL และ 100 mL

                                 10. หลอดทดลอง (test tube)
                                 11. บีกเกอร์ ขนาด 250 mL
                                 12. ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask) ขนาด 100 mL และ 1000 mL

                              สำรเคมีและกำรเตรียมสำรละลำย
                                1. สารละลายแอมโมเนียมอะซิเตท (ammonium acetate, NH4OAc) 1 N pH 7.0

                                 ตวงกรดอะซิติค (glacial acetic acid, CH 3COOH)  57 mL และแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์
                       (ammonium hydroxide, NH4OH) 68 mL ด้วยกระบอกตวงใส่ในบีกเกอร์ขนาด 250 mL ที่มีน้ า
                       กลั่น เทสารละลายลงใน volumetric flask ปรับปริมาตรประมาณ 900 mL เขย่าให้ผสมกันน า

                       สารละลายไปปรับพีเอชเท่ากับ 7 ด้วยการใช้กรดอะซิติคหรือด่างแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์จากนั้นปรับ
                       ปริมาตรด้วยน้ ากลั่นเป็น 1 L
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36