Page 73 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                      65



                     4.5  มาตรการและแนวทางการจัดการพื นที่น ้าท่วมซ ้าซาก
                           การป้องกันและจัดการกับปัญหาน้ าท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจ าทุกปีของภาคใต้ จ าเป็นต้องมีการ
                     ก าหนดมาตรการที่ชัดเจน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการบริการจัดการน้ าของประเทศไทยด าเนินการในเชิง

                     ตั้งรับ กล่าวคือการใช้แนวคิดโดยเน้นไปที่การช่วยเหลือ บรรเทา และฟื้นฟูบูรณะขณะที่เกิดภัยพิบัติและ
                     ภายหลังเกิดภัยพิบัติ แต่ในปัจจุบันการเกิดภัยพิบัติมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มมากขึ้น การบริหารจัดการภัย
                     จึงต้องปรับเปลี่ยนให้เกิดการปฏิบัติในเชิงรุกเพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมรับมือภัยที่จะเกิดขึ้นได้
                     อย่างทันท่วงที โดยตั้งเป้าหมายในการลดความรุนแรงและลดผลกระทบจากภัยพิบัติให้มากที่สุด
                     ซึ่งจะเน้นการป้องกันทั้งมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง และมีการเตรียมความพร้อม

                     ทั้งในส่วนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง เพื่อให้พื้นที่ได้รับผลกระทบ
                     จากภัยพิบัติน้อยที่สุดสามารถด าเนินการได้หลายวิธีได้แก่
                           4.5.1  การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ าขนาดกลางเก็บน้ าไว้ทางต้นน้ าเพื่อเก็บกักปริมาณน้ าหลากไว้

                     ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันอุทกภัยแล้ว ยังสามารถน ามาใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้อีกด้วย
                           4.5., การสร้างคันกั้นน้ า เพื่อป้องกันพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง วิธีนี้
                     แม้จะช่วยป้องกันน้ าท่วมพื้นที่เป้าหมายได้ แต่จะท าให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อื่นๆ ซึ่งต้องรับปริมาณน้ า
                     มากกว่าเดิม และท าให้ระดับน้ าในล าน้ าสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย

                           4.5.3 การระบายน้ าเข้าไปเก็บกักในพื้นที่ลุ่มต่ า วิธีนี้จะคล้ายกับสภาพธรรมชาติที่เมื่อเกิด
                     น้ าท่วมขึ้นน้ าจะไหลแผ่กระจายเข้าสู่ที่ลุ่มต่างๆ หากสามารถหาพื้นที่ลุ่มเพื่อช่วยแบ่งน้ าออกไปจะช่วย
                     ลดปริมาณน้ าหลากในล าน้ าได้มากท าให้บรรเทาปัญหาอุทกภัยแก่พื้นที่ท้ายน้ าได้
                           4.5.4 การปรับปรุงสภาพล าน้ าเพื่อช่วยให้น้ าสามารถไหลตามล าน้ าได้สะดวก หรือให้กระแสน้ า

                     ที่ไหลมีความเร็วเพิ่มขึ้นเพื่อที่ในฤดูน้ าหลากน้ าจ านวนมากที่ไหลตามล าน้ าจะได้มีระดับลดต่ าลงไปจากเดิม
                     เป็นการช่วยบรรเทาความเสียหายเนื่องจากน้ าท่วมได้เป็นอย่างดี
                           4.5.5 เพิ่มทางผันน้ าออกสู่ทะเลให้มากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มทางระบายน้ าลงสู่ทะเลทั้งโดยการใช้
                     ระบบคลองระบายที่มีอยู่หรือการขุดคลองขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อให้มีความสามารถระบายน้ าได้มากขึ้น

                           4.5.6 การสูบน้ าออกจากพื้นที่ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ าที่ไหลออกสู่ทะเลให้มากขึ้น รวมทั้งการ
                     เพิ่มความเร็วแรงน้ าโดยการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ า
                           4.5.7 การสร้างแหล่งเก็บกักน้ าและระบายน้ าออกให้สอดคล้องกับการขึ้นลงของน้ าทะเลหรือ

                     การด าเนินการตามโครงการแก้มลิง
                           4.5.8 การสร้างประตูระบายปิดกั้นน้ าทะเลบริเวณปากแม่น้ าเพื่อลดอิทธิพลของน้ าทะเลหนุน
                           4.5.9 การพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ าท่วมโดยใช้มาตรการทางผังเมืองร่วม และ
                     การใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต ให้สอดคล้องกับโครงการป้องกันน้ าท่วมที่หน่อยงานต่างๆ จะได้
                     ด าเนินการจัดท าแผนบูรณาการระยะยาวต่อไป

                           4.5.10 การพยากรณ์และการเตือนภัยน้ าท่วมทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และภายหลัง
                     การเกิดภัย ทั้งนี้ต้องติดตั้งระบบ Real Time Operation เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์
                     ณ เวลาจริง รวมทั้งใช้ระบบ GIS และข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงมาช่วยในการแสดง

                     ขอบเขตและระดับความลึกของพื้นที่น้ าท่วม รวมทั้งติดตั้งระบบสื่อสารจาก Operating room
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78