Page 72 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 72

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                      64



                     4.4  แนวทางการป้องกันและลดความเสียหายจากน ้าท่วม

                           การแก้ไขปัญหาน้ าท่วมนั้น สิ่งที่ส าคัญของการจัดการปัญหาก็คือต้องรู้ว่าอะไรที่เราจะจัดการก่อน
                     นั่นก็คือปัญหาโดยเฉพาะสาเหตุของปัญหานั้นๆ คือต้องรู้สาเหตุและความรุนแรงของปัญหาน้ าท่วม
                     และหามาตรการที่เหมาะสมกับสาเหตุของการเกิดน้ าท่วมนั้น ซึ่งสามารถแบ่งมาตรการการป้องกัน
                     เพื่อลดความเสียหายจากน้ าท่วมได้ดังต่อไปนี้ (สุชาติและเกษร0 ,548)

                           4.4.1 มาตรการป้องกันน้ าท่วมหรือน้ าท่วมขัง
                                1)  ต้องวางผังเมืองให้เหมาะสม รักษาระบบระบายน้ าตามธรรมชาติให้คงไว้เพื่อใช้

                     ระบายน้ าจากพื้นที่ แต่หากมีความจ าเป็นต้องพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม ฯลฯ

                     ขวางทางน้ าไหลหรือพื้นที่ระบายน้ าตามธรรมชาติ จะต้องก่อสร้างระบบระบายน้ าทดแทนส่วนที่สูญไป
                                2)  การก่อสร้างถนนจะต้องวางระบบการระบายน้ า เช่น ท่อลอด สะพาน ที่เหมาะสมทั้ง
                     ต าแหน่งที่ตั้ง จ านวนและขนาด
                                3)   ในพื้นที่ที่มีการทรุดต้องไม่สูบน้ าใต้ดินมาใช้โดยปราศจากการควบคุม ต้องมีการป้องกัน
                     การกัดเซาะชะล้างหน้าดินออกจากพื้นที่ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้หญ้าแฝก การปลูกพืชคลุมดิน

                     เป็นต้น
                           4.4.2 มาตรการป้องกันน้ าป่าไหลหลากหรือน้ าท่วมฉับพลัน
                                1)  นอกจากไม่ตัดไม้ท าลายป่าแล้ว ต้องเร่งปลูกต้นไม้ปลูกป่าทดแทนส่วนที่เสียหายและ

                     ถูกท าลายไป
                                2)  การสร้างระบบป้องกันการกัดเซาะ ชะล้างพังทลายของดินลาดเชิงเขา
                                3)  การสร้างแหล่งน้ าขนาดต่างๆ ตั้งแต่ฝายแม้ว แหล่งน้ าขนาดเล็ก ขนาดกลางและ
                     ขนาดใหญ่ เพื่อรองรับน้ าให้เก็บกักเอาไว้ ไม่ปล่อยลงมาอย่างทันทีทันใดจนท่วมพื้นที่ตอนล่าง หรือ

                     ไหลทิ้งออกจากลุ่มน้ าและออกไปสู่ทะเล ซึ่งนอกจากช่วยป้องกันภัยน้ าท่วมแล้วยังสามารถเก็บกักน้ า
                     ไว้ใช้ในฤดูแล้งได้อีกด้วย
                                4)  ต้องมีระบบควบคุมน้ าทะเลหนุน ได้แก่ ประตูระบายน้ าที่มีประสิทธิภาพ และมีการบริหาร
                     จัดการน้ าที่ดี

                                5)  การก่อสร้างแหล่งน้ า เพื่อรองรับน้ าที่ระบายจากลุ่มน้ าตอนบนในช่วงน้ าทะเลหนุน
                     ไว้ก่อนที่จะระบายออกสู่ทะเลหรือพื้นที่แก้มลิง
                           4.4.3 มาตรการป้องกันน้ าล้นตลิ่ง
                                1)  การที่มีฝนตกหนักมากจนเกินความสามารถที่ล าน้ าจะรองรับไว้ได้เป็นเหตุที่ป้องกันได้

                     ถ้ามีการศึกษาเกี่ยวกับลุ่มน้ าต่างๆ ดีพอ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการน้ าในลุ่มน้ า ปรับปรุงขุดลอกล าน้ า
                     ให้มีความเหมาะสมที่จะรองรับปริมาณฝนสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้
                                2)  การตรวจสอบเพื่อก าจัดสิ่งกีดขวางในล าน้ าทั้งช่วงก่อนฤดูน้ าหลาก และช่วงที่มี

                     น้ าหลากแล้ว
                                3)  การสร้างระบบควบคุมที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างฝายทดน้ าในล าน้ า
                     อาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัยได้ถ้าออกแบบไม่เหมาะสม
                                4)  มีการบริหารจัดการน้ าที่ดี ให้ระบบควบคุม ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ า ฝายทดน้ า หรือ
                     ประตูระบายน้ าฯ ให้เป็นประโยชน์ในการป้องกันการเกิดอุทกภัย
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77