Page 133 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 133

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         100


                                      4) กลุ่มที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากติดข้อจํากัดความเค็ม ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 20 มีผลผลิตอยู่
                     ในช่วง 0.89-0.94 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 1.46-1.61 ตันต่อไร่

                     ติดข้อจํากัดความลาดชัน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่พบในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ติด
                     ข้อจํากัดมีการทําคันดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 31b 31Bb 35b 35Bb 36b 36Bb 40b 40Bb 41b 41Bb
                     44Bb 55b 55Bb และ 56b กลุ่มชุดดินที่พบในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่
                     มีการทําคันดินเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตสําหรับปลูกมันสําปะหลัง รวมพื้นที่ไม่เหมาะสม

                     สําหรับการปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ 327,901 ไร่ หรือร้อยละ 15.34 ของพื้นที่ปลูก
                     มันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                           9.3 แนวทางการจัดการดินสําหรับปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีข้อจํากัดใน
                     เรื่องของปริมาณธาตุอาหาร เนื้อดิน ความลึกของดิน และการระบายอากาศของดิน โดยมีแนวทางในการ
                     จัดการดินในแต่ละข้อจํากัดเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลัง ดังนี้


                                1) ข้อจํากัดในเรื่องของปริมาณธาตุอาหาร ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 35 36 37 38 40 41 44 56
                     และ 60 ควรมีการปรับปรุงบํารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และใส่ปุ๋ยตามคําแนะนําให้เพียงพอกับความต้องการ
                     ของมันสําปะหลัง

                                2) ข้อจํากัดในเรื่องของเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 29 31 33 และ 55 ซึ่งเนื้อดินมีผลต่อ
                     การให้น้ํา การระบายน้ํา และการจัดการดินอื่นๆ ควรมีการไถพรวนในช่วงเวลาที่ความชื้นพอเหมาะ มิ

                     เช่นนั้นจะทําให้ดินแน่นทึบได้

                                3) ข้อจํากัดในเรื่องของความลึกดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 46 47 48 49 52 และ 54  ซึ่งเป็น
                     อุปสรรคสําหรับการเจริญเติบโตของรากพืชและชิ้นส่วนต่างๆ ของพืชที่หยั่งลงดิน เป็นข้อจํากัดที่แก้ไขได้
                     ยากและอาจจะไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนสําหรับปลูกมันสําปะหลัง

                                4) ข้อจํากัดในเรื่องการระบายอากาศของดินได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 4 7 7hi 15 17 18 19 20
                     20hi  และ 22 ซึ่งเป็นกลุ่มชุดดินในสภาพพื้นที่ลุ่ม การถ่ายเทอากาศมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ได้

                     ของออกซิเจนต่อระบบรากพืชและมีความสัมพันธ์กับช่องว่างในดินและสัดส่วนของช่องว่างที่เต็มไปด้วยน้ํา
                     ซึ่งเป็นผลทําให้หัวมันสําปะหลังเน่าและเสียหายได้ และถึงแม้จะมีการแก้ไขข้อจํากัดของการถ่ายเทอากาศ
                     ของดิน ซึ่งทําได้โดยการยกร่องนั้นเป็นการแก้ไขข้อจํากัดที่ทําได้ยาก มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่คุ้มค่าแก่การ
                     ลงทุนสําหรับปลูกมันสําปะหลัง
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138