Page 134 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 134

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         101


                     10. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

                           จากการศึกษาแนวทางการประเมินกําลังผลิตของดินสําหรับปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
                     พบปัญหาและอุปสรรค ดังนี้


                             1) การได้รับข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรเป็นข้อมูลที่อาจจะไม่ถูกต้องและครบถ้วน
                     เนื่องจากเกษตรกรจดจําข้อมูลไม่ได้ และไม่มีการจดบันทึก ทําให้ข้อมูลการจัดการแปลงปลูก การจัดการดิน
                     วิธีการใส่ปุ๋ย ชนิดและอัตราปุ๋ยรวมถึงผลผลิตที่ได้มีควมคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นการนําข้อมูล
                     จากเกษตรกรมาใช้ควรมีจํานวนซ้ําของข้อมูลเพื่อคัดเลือกข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมาใช้ในการเปรียบเทียบ
                     กับการใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO


                             2) ข้อจํากัดของการประเมินผลผลิตโดยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  เป็นการ
                     คาดการณ์ผลผลิตก่อนการแก้ไขข้อจํากัด ซึ่งวิเคราะห์จากฐานข้อมูลดิน พืช และภูมิอากาศ ส่วนการคาดการณ์
                     ผลผลิตหลังการแก้ไขข้อจํากัดนั้นมีการแก้ไขเพียงเฉพาะเรื่องการระบายอากาศ และเพิ่มธาตุอาหารพืชให้เหมาะสม
                     ต่อการให้ผลผลิตของมันสําปะหลัง โดยไม่มีการจัดการแปลง โรคและแมลง ทําให้ผลผลิตที่ได้จากแบบจําลองการ
                     ปลูกพืช PLANTGRO เป็นผลผลิตระดับศักยภาพ (maximum attainable yield) ของมันสําปะหลังที่ปลูกบนดิน

                     นั้นๆ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรและการประเมินโดยโปรแกรม
                     แบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO มีความแตกต่างกัน โดยผลผลิตของมันสําปะหลังที่ได้จากการสัมภาษณ์
                     เกษตรกรจะสูงกว่า ดังนั้นการใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  ควรมีการทําแปลงทดสอบ

                     และเลือกสายพันธุ์ให้ตรงกับค่าพันธุกรรมพืช ลักษณะการเจริญเติบโต เพื่อนํามาใช้สร้างแฟ้มข้อมูลพืชเพื่อใช้
                     ในการประเมินด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO จะทําให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

                             3) ข้อจํากัดของข้อมูลดิน เนื่องจากข้อมูลดินที่นํามาใช้ประเมินนั้นเป็นข้อมูลชุดดินตัวแทนของ
                     กลุ่มชุดดิน จึงจําเป็นต้องสร้างแฟ้มข้อมูลดินให้อยู่ในสถานะปัจจุบันและครอบคลุมลักษณะและสมบัติของดิน
                     เช่น ความลาดชันของสภาพพื้นที่ในแต่ละชุดดินมีความลาดชันหลายระดับ แต่ข้อมูลที่ใช้เป็นเพียงตัวแทน

                     จึงต้องมีการสร้างข้อมูลให้ครอบคลุมทุกๆ สภาพพื้นที่ที่แตกต่างกันในแต่ละดินด้วย เพื่อทําให้การประเมิน
                     กําลังผลิตของดินโดยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO มีความถูกต้องและแม่นยํามากยิ่งขึ้น

                     11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                           จากการศึกษาแนวทางการประเมินกําลังผลิตของดินสําหรับปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
                     สามารถใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  เป็นเครื่องมือช่วยในการประเมินกําลังผลิตของ
                     ดินสําหรับพืชเนื่องจากแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  ทําให้ทราบข้อจํากัดของดินที่มีผลต่อการ

                     เจริญเติบโตของพืชและสามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ โดยข้อมูลที่ได้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

                                1) สามารถนําข้อมูลระดับความเหมาะสมและข้อจํากัดของดินเป็นข้อมูลสําหรับการจัดการดิน
                     เพื่อการปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                                2) เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยพื้นที่และคุ้มค่าแก่
                     การลงทุน

                                3) เป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับ ศึกษา ค้นคว้าวิจัย และทดลองต่างๆ สําหรับปลูกมันสําปะหลังและเพื่อ
                     การผลิตมันสําปะหลัง
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139