Page 128 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 128

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          95


                           8.3 ข้อจํากัดของดินและแนวทางการจัดการดินเบื้องต้นเพื่อการผลิตมันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัด
                     นครราชสีมา

                                แนวทางการจัดการดินและเพิ่มธาตุอาหารพืชเบื้องต้นตามกลุ่มชุดดินเพื่อเพิ่มกําลังผลิตของ

                     กลุ่มชุดดินในการผลิตมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา จะมีการจัดการที่แตกต่างกันตามข้อจํากัดของดิน
                     ในแต่ละกลุ่มชุดดิน ซึ่งมีลักษณะและสมบัติของดินที่เฉพาะตามปัจจัยการเกิดดินและการสร้างดิน เช่น
                     สภาพภูมิอากาศ ชนิดวัตถุต้นกําเนิดดิน สภาพพื้นที่ ระยะเวลาการพัฒนาของดิน พืชพรรณธรรมชาติ

                     สิ่งมีชีวิต และการจัดการดิน โดยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  จะคํานวณและประเมิน
                     ความสัมพันธ์ของปัจจัยดิน โดยสรุปได้ดังนี้

                                ปัจจัยทางกายภาพของดินที่แก้ไขได้ยาก และมีอิทธิพลมากสุดต่อการให้ผลผลิตมันสําปะหลัง คือ
                     การถ่ายเทอากาศ และเนื้อดิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของมันสําปะหลัง เช่น การถ่ายเทอากาศ
                     ของดิน และเนื้อดิน มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ได้ของออกซิเจนต่อระบบรากพืชขนาดของช่องว่างในดิน

                     และสัดส่วนของช่องว่างที่เต็มไปด้วยน้ําหรือการมีน้ําแช่ขังตามฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลให้การขยายหัวของมันสําปะหลัง
                     เป็นไปได้ยากและเน่าเสียหายได้

                                ปัจจัยที่แก้ไขได้และมีความสําคัญรองลงมา คือ ด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ส่งผลต่อการ
                     เจริญเติบโตของมันสําปะหลัง โดยจะมีการแก้ไขในส่วนของปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
                     ให้เพียงพอในการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต มันสําปะหลังมีความต้องการปริมาณธาตุไนโตรเจน อัตรา

                     15.2 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ธาตุฟอสฟอรัส อัตรา 3.6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และปริมาณธาตุโพแทสเซียม อัตรา
                     12.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี การกําหนดอัตราปุ๋ยสําหรับมันสําปะหลังตามค่ามาตรฐานที่เหมาะสมของปริมาณอินทรียวัตถุ
                     ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในดินที่สัมพันธ์กับอัตราปุ๋ยแนะนําให้ใส่ โดยอ้างอิงข้อมูลจากงานทดลองปุ๋ยกับพืชของ
                     นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะตามคําแนะนําการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ (กรมวิชาการเกษตร, 2552)

                                ผลจากโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ในสถานการณ์จําลอง แสดงถึงระดับ

                     ความเหมาะสมและข้อจํากัดของกลุ่มชุดดิน จึงต้องมีแนวทางการจัดการดิน เพื่อเพิ่มศักยภาพและผลผลิต
                     ของมันสําปะหลังจากข้อจํากัดของดิน พบว่า มีข้อจํากัดในเรื่องของปริมาณธาตุอาหาร เนื้อดิน ความลึก
                     ของดิน และการระบายอากาศของดิน ข้อจํากัดในเรื่องของปริมาณธาตุอาหาร ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 35 36
                     37 38 40 41 44 56  และ 60 ข้อจํากัดในเรื่องของเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 29 31 33 และ 55

                     ข้อจํากัดในเรื่องของความลึกดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 46 47 48 49 52 และ 54 ข้อจํากัดในเรื่องการระบาย
                     อากาศของดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 4 7 7hi 15 17 18 19 20 20hi และ 22 โดยสรุปแนวทางการจัดการ
                     ดินจากข้อจํากัดของดินได้ดังตารางที่ 38
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133