Page 131 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 131

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          98


                     9. สรุป

                           9.1 การประยุกต์ใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ในการประเมินกําลังผลิตของ
                     กลุ่มชุดดินสําหรับปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบว่า สามารถประเมินข้อจํากัดของดิน

                     และจัดระดับความเหมาะสมของดินออกเป็นระดับความเหมาะสมในแต่ละกลุ่มชุดดินได้ โดยใช้ปัจจัย
                     ทางด้านดิน พืช ภูมิอากาศ เช่นเดียวกันกับวิธีการจัดระดับความเหมาะสมของที่ดินที่ใช้ในคู่มือการประเมิน
                     คุณภาพที่ดิน (ธีระยุทธ และคณะ, 2552) ซึ่งจัดระดับความเหมาะสมของการประเมินคุณภาพที่ดินออกเป็น

                     4 ระดับ ส่วนการใช้โปรแกรม PLANTGRO การประเมินแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ซึ่งจะใช้หลักการประมาณ
                     ค่าของปัจจัยตามความต้องการพืชทําให้มีความสะดวกและรวดเร็วในกรณีที่ต้องการประเมินความเหมาะสม
                     ในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ระดับจังหวัด และมีความหลากหลายของข้อมูลดิน ซึ่งโปรแกรมจะแสดงถึงปัจจัย
                     ข้อจํากัดว่ามีความรุนแรงอยู่ในระดับใด โดยเฉพาะปัจจัยในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ไม่ได้ใช้ระดับ
                     สูง ปานกลางหรือต่ํา มาประเมินเท่านั้น แต่สามารถนําค่าวิเคราะห์ที่ได้จากห้องปฏิบัติการที่เป็นตัวเลขของ

                     ผลวิเคราะห์ดินมาใช้ในโปรแกรม ซึ่งจะทําให้การประเมินมีความละเอียดและแม่นยําเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยัง
                     สามารถคาดการณ์ผลผลิตของพืชได้อีกด้วย โดยที่แบบจําลองการปลูกพืชอื่น เช่น แบบจําลองการปลูกพืช
                     DSSAT สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้แต่ไม่แสดงข้อจํากัดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตได้

                     เช่นเดียวกับโปรแกรม PLANTGRO

                           9.2 การจําแนกระดับความเหมาะสมและกําลังผลิตของดินในพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัด
                     นครราชสีมาด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO

                                9.2.1 การจําแนกระดับความเหมาะสมและกําลังผลิตของดินในพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัด
                     นครราชสีมาด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ตามศักยภาพดิน (ก่อนการแก้ไขข้อจํากัด)
                     สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้

                                      1) กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง เนื่องจากติดข้อจํากัดฟอสฟอรัส แลโพแทสเซียม

                     ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 36 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 4.29-5.29 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน
                     ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 40 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 3.94-5.28 ตันต่อไร่ รวมพื้นที่มีความ
                     เหมาะสมปานกลางสําหรับการปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ 852,135 ไร่ หรือร้อยละ 39.51
                     ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                                      2) กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา เนื่องจากติดข้อจํากัดความลึกของดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่

                     46 48 และ 49 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 2.47-3.05 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดโพแทสเซียมของดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่
                     35 และ 38 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 2.36-3.16 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดโพแทสเซียมของดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 35
                     และ 38 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 2.36-3.16 ตันต่อไร่  ติดข้อจํากัดเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 29 31 และ 55 มี
                     ผลผลิตอยู่ในช่วง 2.05-3.01 ตันต่อไร่  ติดข้อจํากัดความอิ่มตัวเบสและฟอสฟอรัส ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 56 มี

                     ผลผลิตอยู่ในช่วง 3.08-3.21 ตันต่อไร่  ติดข้อจํากัดความลึกของดินและไนโตรเจน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 47 มี
                     ผลผลิตอยู่ในช่วง 2.12-3.13 ตันต่อไร่  ติดข้อจํากัดโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 41 44
                     และ 60 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 2.00-2.30 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดฟอสฟอรัสและเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 33 มี

                     ผลผลิตอยู่ในช่วง 2.26-3.02 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดปฏิกิริยาดินและเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 54 มีผลผลิต
                     อยู่ในช่วง 2.71-2.79 ตันต่อไร่  ติดข้อจํากัดความลึกของดิน ปฏิกิริยาดินและเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 52
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136