Page 89 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 89

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       76







                                                       สรุปผลการทดลอง

                              1. การก าหนดอัตราการใส่ปุ๋ย N  P  และK  ส าหรับการปลูกผักคะน้า และหอมแบ่ง โดย

                       พิจารณาค่าวิเคราะห์ดินอย่างเดียว หรือพิจารณาค่าวิเคราะห์ดินควบคู่กับความต้องการธาตุอาหาร
                       หลักของพืช สามารถลดต้นทุนการผลิตด้านปุ๋ยเคมีลงได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยอัตราเกษตรกร
                       โดยผลผลิตไม่ลดลง และทุกอัตราการใส่ปุ๋ยไม่ท าให้ผลผลิตแตกต่างกันทางสถิติ
                              2.  อัตราการใส่ปุ๋ยเคมีที่ประเมินจากค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจนของ

                       พืชผัก การปลดปล่อยไนโตรเจนจากอินทรียวัตถุ ประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจนของพืชค่าวิกฤต
                       ของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ในดิน (10  มก.P/กก.) และโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้
                       (100 มก.K/กก.) เป็นอัตราที่มีต้นทุนด้านปุ๋ยน้อยที่สุด และมีผลตอบแทนต่อต้นทุนด้านปุ๋ยหนึ่งหน่วย
                       สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการใส่ปุ๋ยในอัตราอื่น

                              3. การใช้ชุดตรวจดินภาคสนาม กรมพัฒนาที่ดิน ตรวจวิเคราะห์ดินให้ค่าอินทรียวัตถุ
                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ และโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ที่มีความสอดคล้องกับค่า
                       วิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการ

                              4. อัตราการใส่ปุ๋ยเคมีในผักคะน้า และหอมแบ่ง ที่ประเมินโดยใช้ค่าวิเคราะห์ดินจากชุดตรวจ
                       ดินภาคสนาม มีประสิทธิภาพเหมาะสมส าหรับการใช้ในการให้ค าแนะน าการใส่ปุ๋ยเคมีในการปลูก
                       ผักคะน้า และหอมแบ่งในจังหวัดล าพูน สามารถลดต้นทุนด้านปุ๋ยเคมี โดยผลผลิตไม่ลดลงหรือดีกว่า
                       และท าให้ผลตอบแทนต่อต้นทุนด้านปุ๋ยหนึ่งหน่วยสูงกว่าอัตราเกษตรกร


                                                          ข้อเสนอแนะ


                              1. ด้านการศึกษาวิจัย ควรมีการศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของชุดตรวจดินภาคสนาม
                       กรมพัฒนาที่ดินให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีความแตกต่างของดินและสภาพแวดล้อม
                              2.  ควรส่งเสริมให้มีการใช้ชุดตรวจดินภาคสนาม กรมพัฒนาที่ดิน ให้แพร่หลายมากขึ้น
                       เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการตรวจดินส าหรับการใส่ปุ๋ยเคมี

                              3. การใช้ชุดตรวจดินภาคสนามเพื่อการตรวจดินส าหรับเกษตรกรน่าจะเป็นการใช้
                       งบประมาณของกรมพัฒนาที่ดินที่มีประสิทธิภาพในเชิงปริมาณและประสิทธิผล
                              4. ควรมีการส่งเสริม อบรมการใช้ชุดตรวจดินภาคสนาม กรมพัฒนาที่ดิน รวมทั้งการแปลผล
                       ให้ถูกต้อง แม่นย า ให้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของกรมพัฒนาที่ดิน หมอดินอาสา และเกษตรกร

                       ผู้สนใจ
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94