Page 15 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                8







                       2.2  สภาพภูมิอากาศ
                            จังหวัดพิจิตรจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศที่เรียกว่า Tropical Savannah คือ ภูมิอากาศแบบฝน
                       เมืองร้อนเฉพาะฤดู มีลักษณะฤดูแล้งนานอย่างเห็นได้ชัด คือ ฝนครึ่งหนึ่งและแล้งครึ่งหนึ่ง ตามปกติ
                       แล้วจะมีลักษณะที่มีภูมิอากาศสภาพปานกลาง ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี

                       ประมาณ 27.5 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว และฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่
                       เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
                       และฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน  ส าหรับลักษณะภูมิอากาศที่ส าคัญของ
                       จังหวัดพิจิตร สรุปได้ดังนี้ (ส านักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, 2559)

                            จากสถิติปริมาณน้ าฝนเฉลี่ย 30 ปี ของจังหวัดพิจิตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ถึง พ.ศ. 2556  จะมี
                       ปริมาณน้ าฝนเท่ากับ 1,314.6 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เดือนกันยายน วัดได้  321.3
                       มิลลิเมตร และเดือนที่มีปริมาณน้ าฝนน้อยที่สุด คือ เดือนธันวาคม ซึ่งวัดได้ 7.6 มิลลิเมตร
                            ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าระหว่างร้อยละ 71 ถึงร้อยละ 85 โดยมีค่าต่ าสุดเดือนเมษายน และสูงสุด

                       เดือนกันยายน และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปี คือ ร้อยละ 78.9
                            อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี 27.5 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด คือ เดือนเมษายน
                       มีค่าเฉลี่ย 36.1 องศาเซลเซียส และเดือนที่มีอากาศเย็นที่สุด ได้แก่ เดือนมกราคม มีค่าเฉลี่ย 18.8

                       องศาเซลเซียส ดังแสดงในภาพที่ 3 และตารางที่ 2






















                       ภาพที่ 3  แผนภูมิลักษณะอุตุนิยมวิทยาเฉลี่ยรายเดือนในรอบ 30 ปี (พ.ศ. 2526-2556) จังหวัดพิจิตร
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20