Page 10 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                3







                                        (2)  การผลิตภาพข้อมูลดาวเทียมไทยโชต เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมที่ได้มีทั้งระบบ
                       Panchromatic และระบบ Multispectral พื้นที่เดียวกันและมีการบันทึกข้อมูลเวลาเดียวกัน จึงใช้เทคนิค
                       ผสมรวมข้อมูล เพื่อผลิตภาพข้อมูลดาวเทียมสังเคราะห์ที่มีรายละเอียดเชิงคลื่น และรายละเอียด
                       เชิงพื้นที่สูง(Pan sharpening หรือการท า Resolution merge) โดยน าข้อมูลภาพระบบหลายช่วงคลื่น

                       (Multispectral) หรือภาพสีที่มีรายละเอียดจุดภาพ 15  เมตร มาท าการเน้นรายละเอียดของข้อมูลภาพ
                       ด้วยข้อมูลภาพช่วงคลื่นเดียว (Panchromatic) หรือภาพขาว ด า ที่มีรายละเอียดจุดภาพ 2 เมตร
                       วิธีการนี้ท าให้ได้ข้อมูลภาพสีที่มีรายละเอียดจุดภาพเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2 เมตร และข้อมูลภาพสีจะใช้
                       การผสมสีจริง (True color composite) โดยช่วงคลื่นสีแดง (0.62-0.69 ไมครอน) ผ่านตัวกรองสีแดง

                       ช่วงคลื่นสีเขียว (0.53-0.60 ไมครอน) ผ่านตัวกรองสีเขียว และช่วงคลื่นสีน้ าเงิน (0.45-0.52 ไมครอน)
                       ผ่านตัวกรองสีน้ าเงิน จากการผลิตภาพข้อมูลดาวเทียมดังกล่าว ท าให้ได้ภาพดาวเทียมที่มีรายละเอียด
                       จุดภาพสูงและมีสีตามธรรมชาติ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินด้วยสายตาง่ายยิ่งขึ้น
                                        (3)  การผลิตภาพข้อมูลดาวเทียม Landsat  8 OLI เนื่องจากข้อมูลดาวเทียม

                       ประกอบด้วยภาพถ่ายหลายแบนด์ (Band) แยกกันอยู่ ซึ่งภาพในแต่ละแบนด์จะบันทึกข้อมูลในแต่ละ
                       ช่วงคลื่น ดังนั้นก่อนใช้งานจึงมีการน าภาพของแต่ละแบนด์มาหลอมรวมกัน โดยการศึกษาครั้งนี้
                       เลือกการผสมแบนด์เป็นภาพสีผสมเท็จสามช่วงคลื่น (False color composite) แบนด์ 5R-6G-4B

                       คือ ช่วงคลื่นที่ 5 Near Intreared NIR (0.85-0.88 ไมโครเมตร) ผ่านตัวกรองสีแดง ช่วงคลื่นที่ 6 SWIR 1
                       (1.57-1.65 ไมโครเมตร) ผ่านตัวกรองสีเขียว และช่วงคลื่นที่ 4 Red (0.64-0.67 ไมโครเมตร) ผ่านตัว
                       กรองสีน้ าเงิน ภาพที่ได้เหมาะส าหรับจ าแนกพืชพรรณ เช่น อ้อย มันส าปะหลัง และยางพารา เป็นต้น
                                  3)    การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินจากข้อมูลดาวเทียม เพื่อจ าแนกประเภท
                       การใช้ที่ดินเบื้องต้นด้วยสายตา โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของข้อมูล คือ ความเข้มของสีและสี

                       (Tone/Color) ขนาด (Size)  รูปร่าง  (Shape) เนื้อภาพ  (Texture) รูปแบบ  (Pattern) ความสูงและเงา
                       (Height  and  Shadow) ความเกี่ยวพัน  (Association) และการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (Temporal
                       change)  ของข้อมูล  จ าแนกประเภทการใช้ที่ดินโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทาง

                       ภูมิศาสตร์ ดังนี้
                                        (1)  วิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2556 เพื่อความถูกต้องของข้อมูล
                       ก่อนน าข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2559 จึงท า
                       การตรวจสอบข้อมูลโดยน ามาวิเคราะห์กับข้อมูลดาวเทียมไทยโชต บันทึกข้อมูล พ.ศ. 2552-2555

                                        (2)  วิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2559 โดยใช้โปรแกรม QGIS ver.
                       2.6.1 ซึ่งสามารถดึงข้อมูลภาพดาวเทียมรายละเอียดสูงจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่มีความเป็นปัจจุบัน
                       มาใช้ วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูล Landsat 8 OLI บันทึกข้อมูล พ.ศ. 2559 ที่ได้มีการผสมสีเท็จเพื่อให้ง่าย
                       ต่อการจ าแนกพืชพรรณ จ าแนกประเภทการใช้ที่ดิน แล้วจึงน าชั้นข้อมูลที่ได้พิมพ์เป็นแผนที่ใช้ในการ

                       ส ารวจข้อมูลในภาคสนาม
                                  4)    การส ารวจข้อมูลในภาคสนาม ท าการส ารวจตรวจสอบรายละเอียดสภาพการใช้
                       ที่ดินภาคสนามในพื้นที่จริง พร้อมแก้ไขรายละเอียดให้มีความถูกต้องตรงกับสภาพปัจจุบัน
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15