Page 22 - โครงการ 60 พรรษา สยามบรมราชกุมารี 60 เขตปฐพีพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยฝ่าย-ห้วยสะท้อน (ศก.7) ลุ่มน้ำสาขา แม่น้ำมูล ส่วนที่ 3 ลุ่มน้ำหลัก แม่น้ำมูล อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       10







                         2.5 ทรัพยากรป่าไม้
                             2.5.1 พื้นที่ป่าไม้ อ้างอิงจากส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน (2549) พบว่า
                                  1) ชนิดของป่าไม้พืชพันธุ์ธรรมชาติในเขตพัฒนาที่ดินห้วยฝาย-ห้วยสะท้อน อ าเภอเมือง
                         จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีพื้นที่อยู่ในเขตภาคะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเมื่อพิจารณาตามลักษณะของ

                         ป่าไม้  ซึ่งประเภทของป่าไม้จะผันแปรตามลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ  ดิน  และหินเป็นหลัก
                         สามารถสรุปลักษณะป่าไม้ได้ดังต่อไปนี้
                                     1.1) ป่าเต็งรัง เป็นลักษณะป่าที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่โคก โนน เนิน มอ และที่ดอน
                         ไหล่เขา ดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย  บางแห่งเป็นลูกรังหรือเป็นดินตื้น  ซึ่งมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย

                         และสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศที่มีช่วงฤดูฝนสั้นและฤดูแล้งยาว ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้มี
                         ขนาดเล็กถึงปานกลางทั้งทางด้านความสูงและขนาดชนิดไม้ที่ส าคัญได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้เหียง ไม้
                         พลวง ป่าชนิดนี้บางทีเรียกป่าโคก ต้นไม้อื่นๆ ที่จะปะปนอยู่ในป่าชนิดนี้ได้แก่ ประดู่ แดง กราด
                         มะค่า รัก กระโดน จะบก จะพอก มะขามป้อม เป็นต้น

                                     1.2) ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่กระจายเป็นหย่อมๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมี
                         ความสัมพันธ์กับพื้นที่ไหล่เขา โคก โนน และที่ดอนที่มีความชื้นในดินมากกว่าป่าเต็งรัง ป่าเบญจ
                         พรรณ  จะไม่ค่อยมีไม้จ าพวกกลุ่มยาง  เต็งรัง  เข้าไปเกี่ยวข้องมากนัก  แต่อาจมีไม้จ าพวกไผ่ต่างๆ

                         แทรกสลับอยู่เป็นหย่อมๆ ชนิดไม้ที่ส าคัญได้แก่ มะค่าโมง ส้มเสี้ยว แดง แค กระโดน ยมหิน ประดู่
                         ทองกวาวตะเคียน รกฟ้า เป็นต้น
                                     1.3) ป่าแคระ ป่าละเมาะ (ป่าดอนแห้งแล้ง) เป็นป่าที่สัมพันธ์กับลักษณะอากาศแล้ง
                         จัดหรือแล้งยาวนาน จึงมักพบป่าชนิดนี้ขึ้นในที่ดอนชายทุ่งที่เชิงเนิน ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ไม่ค่อยได้
                         ใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มเตี้ยมีหนาม เช่น ไผ่หนาม หนามแท่ง และหญ้าที่พบมากส่วนใหญ่

                         ได้แก่ หญ้าคา หญ้าชันอากาศและหญ้าพง เป็นต้น
                                     1.4) ป่าบุ่ง-ป่าทาม (ป่าลุ่มน้ าจืด) ได้แก่ ป่าที่ขึ้นตามบึง ตามทุ่ง ในที่ราบลุ่มสองฝั่ง
                         แม่น้ าสายใหญ่ พื้นที่ดังกล่าวจะสัมพันธ์กับแนวร่องน้ า ในที่ลุ่มจะปรากฏป่าบุ่ง ป่าทาม พืชพันธุ์ที่

                         ขึ้นจะเป็นพวกไม้ขนาดเล็กและไม้พุ่มเตี้ย เช่น ไผ่เพ็กโสน ต้นเสียว ต้นกกชนิดต่างๆ ไม้ต้น เช่น ต้น
                         กระทุ่ม ต้นกระเบาน้ า ต้นจิกน้ า ต้นแคน้ า ต้นหว้าน้ า ต้นกันเกรา ต้นสะแก เป็นต้น
                                        จากการศึกษาสถานภาพของป่าไม้แยกตาม ประเภทป่าไม้ตามกฎหมายและมติ
                         คณะรัฐมนตรี พบว่าในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าห้วยฝาย-ห้วยสะท้อน ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายฯ

                         และจากข้อมูลการส ารวจสภาพการใช้ที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ (2549) โดย ส านักส ารวจดินและวาง
                         แผนการใช้ที่ดิน  พบว่า ในเขตนี้เป็นป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟูกระจายอยู่ในพื้นที่ จ านวน 844 ไร่

                         2.6 ทรัพยากรที่ดินและการใช้ที่ดิน

                             2.6.1 ทรัพยากรดิน
                                       การจ าแนกกลุ่มชุดดิน  โดยการน าฐานข้อมูลดินที่มีอยู่ ร่วมกับการจัดการพื้นที่
                         ทางการเกษตร ได้แก่ การท าคันนาในที่ดอนเพื่อปลูกข้าวโดยมาพิจารณาร่วม ตามขอบเขตของ
                         พื้นที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อใช้เป็นหน่วยพื้นฐานในการประเมินคุณภาพที่ดิน

                         และจัดการที่ดิน ดังนั้น ในการจัดท าหน่วยที่ดินจึงพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพล ทั้งโดยทางตรง
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27