Page 18 - โครงการ 60 พรรษา สยามบรมราชกุมารี 60 เขตปฐพีพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยฝ่าย-ห้วยสะท้อน (ศก.7) ลุ่มน้ำสาขา แม่น้ำมูล ส่วนที่ 3 ลุ่มน้ำหลัก แม่น้ำมูล อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6







                         2.2 สภาพภูมิประเทศและความลาดชัน
                                โครงการ 60 พรรษา สยามบรมราชกุมารี 60 เขตปฐพี พัฒนาอย่างยั่งยืน เขตพัฒนาที่ดิน

                         ลุ่มน้ าห้วยฝาย-ห้วยสะท้อน อ าเภอเมือง  จังหวัดศรีสะเกษ มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ  ถึงลูก

                         คลื่นลอนลาดเล็กน้อย โดยสภาพพื้นที่จะลาดเทจากทิศใต้ ลงไปทางทิศเหนือ สู่แม่น้ ามูล มีความสูง
                         จากระดับน้ าทะเลปานกลางตั้งแต่ 110–140 เมตร โดยสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอน

                         ลาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาดอน ปลูกพริกไม้ยืนต้น และไม้ผล ส่วนสภาพพื้นที่ที่มี

                         ลักษณะราบเรียบใช้ท านา แหล่งน้ าที่ส าคัญ ได้แก่ หนองบัว หนองบัวน้อย กุดฮี กุดแคน กุดโมง

                         มีห้วยฝายไหลลงห้วยส าราญไหลที่ผ่านทางทิศตะวันตก ห้วยสะท้อนไหลผ่านทางทิศตะวันตก

                         และลงแม่น้ ามูลไหลซึ่งผ่านทางทิศเหนือของพื้นที่


                         2.3 สภาพภูมิอากาศ

                               ลักษณะภูมิอากาศของ โครงการฯ จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Tropical
                         monsoon climate) ซึ่งแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดย

                         ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลและมหาสมุทร ท าให้มีอากาศชุ่มชื้น

                         และฝนตกชุก ส่วนฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพล

                         จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมา ส าหรับฤดูร้อน

                         จะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งจะมีอากาศร้อนและอบอ้าว
                               จากสถิติภูมิอากาศของสถานีตรวจอากาศจังหวัดศรีสะเกษ ได้น ามาใช้พิจารณาเป็นตัวแทน

                         ลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่ต าบล สรุปได้ดังนี้ (ตารางที่ 2.1 และภาพที่ 2.2)

                               2.3.1 ปริมาณน้ าฝน มีปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ยทั้งปี  1,452.6 มิลลิเมตร จ านวนวันที่ฝนตก
                         ประมาณ 134.7 วัน เดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน จะมีปริมาณน้ าฝนมากที่สุดคือ 271.3 และ

                         272.1 มิลลิเมตรตามล าดับ และเดือนธันวาคมจะมีปริมาณน้ าฝนน้อยที่สุด 2.8 มิลลิเมตร

                               2.3.2 อุณหภูมิ มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี  28.7 องศาเซลเซียส เดือนเมษายนและ เดือน

                         พฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 31.4 องศาเซลเซียสและ 31.9 องศาเซลเซียส และเดือนธันวาคม

                         จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ าสุด 24.8 องศาเซลเซียส
                               2.3.3 ความชื้นสัมพัทธ์ มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปี 70 เปอร์เซ็นต์ เดือนกันยายน

                         จะมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุด 78 เปอร์เซ็นต์ และเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมจะมี

                         ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยต่ าสุด 64 เปอร์เซ็นต์
                               2.3.4  การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูกพืช ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสม

                         ในการปลูกพืช โดยใช้ข้อมูลจาก ปริมาณการใช้น้ าของพืชอ้างอิงของกรมชลประทาน (2554) ซึ่ง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23