Page 54 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       35






                                   6) ยุคเพอร์เมียน (Permian period; P) เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่

                   ระหว่างยุคคาร์บอนิเฟอรัสและยุคไทรแอสซิกของมหายุคมีโซโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 286-245 ล้านปีมาแล้ว
                   เป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ า หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคเพอร์เมียน (Permian
                   system)
                                     หินยุคเพอร์เมียนที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ เป็นหินปูน หินดินดาน

                   หินทราย สีเทา-เทาด า มีซากดึกด าบรรพ์มาก ฟูซูลินิค แบรคคิโอพอด
                                   7) ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary period; Q) เป็นยุคที่ 2 ของมหายุคซีโนโซอิก
                   และเป็นยุคปัจจุบัน มีช่วงอายุประมาณ 1.6 ล้านปีมาแล้ว แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือสมัยไพลสโตซีนกับ
                   สมัยโฮโลซีน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกหินยุคควอเทอร์นารี (Quaternary system)

                                     ตะกอนยุคควอเทอร์นารี่ที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ สัญลักษณ์แผนที่
                   Qa เป็นตะกอนที่ราบสะสมโดยทางน้ า ของตะกอนกรวด ทราย และสัญลักษณ์แผนทื่ Qt พบตะกอนตะพัก
                   กรวด ทรายแป้ง ดินเคลย์และดินแลง


                                 7.1.7 ธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดิน
                                 จากการศึกษาข้อมูลธรณีวิทยา ของกรมทรัพยากรธรณี (2527) และข้อมูลทรัพยากรดิน
                   ของกองส ารวจและจ าแนกดิน (2533 และ 2534) สามารถแบ่งลักษณะทางธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดิน

                   ในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ ดังนี้
                                    1) ที่ราบน้ าทะเลขึ้นถึง (active tidal flats) มีน้ าทะเลท่วมถึงเป็นประจ า วัตถุต้นก าเนิด
                   เกิดจากตะกอนทะเล (marine deposits) พัดพามาทับถม

                                    2) สันทราย (beach) สันทรายใหม่-เก่า เป็นพื้นที่ระหว่างแนวน้ าขึ้นกับน้ าลง วัตถุต้น
                   ก าเนิดเกิดจากตะกอนทะเล (marine deposits) เกิดจากการทับถมของตะกอนในปัจจุบัน
                                    3) ที่ลุ่มหลังสันทราย (coastal swamp) วัตถุต้นก าเนิดเกิดจากตะกอนน้ าผสมตะกอน
                   ทะเล (alluvium and Marine deposits)
                                    4) ที่ราบน้ าทะเลเคยขึ้นถึง (former tidal flats) วัตถุต้นก าเนิดเกิดจากตะกอนน้ าผสม

                   ตะกอนทะเล (alluvium and marine deposits) เป็นสัณฐานที่น้ าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน
                                    5) สันดินริมน้ า (levee) พบบริเวณแนวยาวขนาบไปกับล าน้ า วัตถุต้นก าเนิดเกิดจาก
                   ตะกอนน้ า (alluvium deposits) เป็นการตกตะกอนริมฝั่งล าน้ า

                                    6) ตะพักล าน้ า (terrace) พบบริเวณตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ า วัตถุต้นก าเนิดดินเป็น
                   ตะกอนน้ าพา (alluvium)
                                    7) พื้นผิวที่เหลือจากการกร่อน และเกลี่ยผิวแผ่นดิน (erosion and dissected surface)
                   พบบริเวณตอนบนถึงตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ า วัตถุต้นก าเนิดดินเกิดจากวัตถุเคลื่อนย้ายและวัตถุตกค้าง

                   ของหินอัคนีพวกหินแกรนิต หินควอร์ตไซต์ หินตะกอนพวกหินดินดาน หินทราย หินปูน และหินแปรพวก
                   หินไนส์ หินชีสต์ จากหินในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง
                                    8) เนินเขาและภูเขา (hill and mountain) สภาพภูมิประเทศมีความลาดชันสูง บางพื้นที่
                   มีความลาดชันสูงมาก คือ มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ภูเขา และเทือกเขา พบมากทางด้านขอบทิศตะวันออก

                   และตะวันตกของพื้นที่ลุ่มน้ า หินที่พบมีทั้งหินอัคนีพวกหินแกรนิต และหินตะกอน พวกหินดินดาน หินทราย
                   และควอร์ตไซต์ เป็นต้น
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59