Page 50 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       33




                                 7.1.6 ลักษณะทางธรณีวิทยา

                                 ลักษณะทางธรณีวิทยาในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ มาตราส่วน 1: 250,000
                   ของกรมทรัพยากรธรณี (2527 2547ก และ 2547ข) พบว่ามีการวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้
                   หินมีอายุตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบียนถึงตะกอนยุคควอเทอร์นารี โดยมีรายละเอียดตามอายุทางธรณีจากมากไป
                   น้อยดังนี้ (ภาพที่ 5)

                                   1) ยุคพรีแคมเบรียน (Precambrian period) เริ่มตั้งแต่ก าเนิดโลกจนถึง 570 ล้านปี
                   มาแล้ว ในยุคนี้มีการแปรสภาพและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของชั้นหินมาก พบการแทรกตัวขึ้นมาของหิน
                   อัคนีในยุคต้นจะมีการสะสมตะกอนเป็นชั้นๆ และสลับกับการกัดเซาะที่เกิดขึ้นและการสร้างภูเขา ต่อมามี
                   การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจนโครงสร้างถูกท าลาย มหายุคนี้จบลงด้วยเกิดเหตุการณ์รุนแรงทั่วไป ท าให้

                   แผ่นดินยกตัวสูงขึ้นและต่อมาเกิดการกัดเซาะเกิดความไม่ต่อเนื่องทางธรณีวิทยา หินที่เกิดในมหายุคนี้
                   เรียกว่าหินมหายุคพรีแคมเบรียน (Pre-Cambrian erathem)
                                     หินมหายุคพรีแคมเบรียน ที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ เชื่อว่าเป็นหินแปร
                   เกิดในช่วงบรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic eon; PE) มีอายุ 2,500-570 ล้านปีมาแล้ว สัญลักษณ์แผนที่

                   PEgn พบเป็นหินไนส์ ที่แสดงการถูกบีบอัด และ สัญลักษณ์แผนที่ PEsch หินชีสต์ ที่ถูกแปรสภาพอย่างรุนแรง
                                   2) ยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน (Silurian-Devonian period; SD) เป็นช่วงยุคที่ 3-4 ของ
                   มหายุคพาลีโอโซอิก มีอายุตั้งแต่ 438-360 ล้านปีมาแล้ว เรียกช่วงนี้อีกชื่อว่าช่วงคาร์บอนิเฟอรัสช่วงล่าง

                                     หินยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน ที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ เชื่อว่าเป็นหิน
                   แปรเกรดต่ าประเภทหินควอร์ตไซด์ ควอร์ตซีสต์ ฟิลไลต์ ในหมวดหินกาญจนบุรี กลุ่มหินตะนาวศรี
                                   3) ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous period; C) เป็นยุคที่ 5 ของมหายุคพาลีโอโซอิก
                   มีช่วงอายุ 360-286 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่เริ่มมีพืชมีเมล็ด สน เฟิร์น สัตว์เลื้อยคลานชนิดแรก และแมลง
                   เนื่องจากพบถ่านหินมากจึงถือเป็นยุคถ่านหิน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous

                   system)
                                     หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส ที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ สัญลักษณ์แผนที่
                   Cgr พบเป็นหินแกรนิต หินอนาเทคไซต์  และสัญลักษณ์แผนที่ Ck1 เป็นหินทราย หินดินดาน หินทัฟฟ์ ใน

                   หมวดหินตะนาวศรี
                                   4) ยุคหลังคาร์บอนิเฟอรัส (Post Carboniferous period; Post Cv) เป็นช่วงหลัง
                   ยุคคาร์บอนิเฟอรัส และก่อนยุคเพอร์เมียน หินยุคหลังคาร์บอนิเฟอรัส ที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ า
                   ประแสร์ เป็นหินแอนดีไซต์ หินภูเขาไฟ มีอายุ 286 ล้านปีมาแล้ว

                                   5) ยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน (Carboniferous-Permian period; CP) เป็นช่วง
                   ระว่างยุคคาร์บอนิเฟอรัสและยุคเพอร์เมียน ซึ่งเป็นช่วงยุคที่ 5-6 ของมหายุคพาลีโอโซอิก มีอายุตั้งแต่ 360-
                   245 ล้านปีมาแล้ว
                                     หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน ที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์เป็น

                   หินโคลนปนกรวด หินทราย หินปูนเนื้อดิน และหินเชิร์ต
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55