Page 31 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       20




                                   ดินเค็มในประเทศไทย แบ่งตามสภาพพื้นที่หรือแหล่งที่มาของเกลือ ได้แก่

                                     1. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นดินที่มีการสะสมเกลือจากการละลายของ
                   หินเกลือหรือระดับน้ าใต้ดินที่มีเกลือละลายอยู่มาก
                                     2. ดินเค็มภาคกลาง เป็นพื้นที่ที่เคยมีน้ าทะเลท่วมถึงมาก่อน เกิดการทับถมของ
                   ตะกอนน้ าทะเลและตะกอนน้ ากร่อยอยู่ในตะกอนน้ าจืด เมื่อมีการใช้น้ าใต้ดินที่มีความเค็ม การยกร่อง หรือ

                   ขุดหน้าดินไปขาย ท าให้เกลือที่อยู่ใต้ดินเคลื่อนย้ายมาสู่ผิวดิน
                                     3. ดินเค็มชายทะเล เกิดจากอิทธิพลของน้ าทะเลท่วมถึงในปัจจุบันหรือเคยท่วมถึงมาก่อน
                   วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าทะเลและน้ ากร่อย ดินบริเวณนี้จะมีความชื้นของดินสูงและมีความเค็มสูง


                                 5. ดินทราย หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินเป็นทรายหรือดินทรายปนดินร่วน เกิดเป็นชั้นหนา
                   มากกว่า 200 เซนติเมตรจากผิวดิน บางพื้นที่หนามากกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดินที่รองรับด้วยชั้นดาน
                   ดินเหนียวหรือดินร่วน หรือพบชั้นดานอินทรีย์ภายในความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน

                                   ปัญหาของดินทราย ดินทรายมีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและแลกเปลี่ยน
                   ธาตุอาหารต่ า ปริมาณอินทรียวัตถุในดินน้อยจึงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า สมบัติทางกายภาพของดิน
                   ไม่ดีเนื่องจากไม่มีโครงสร้างหรือเป็นเม็ดๆ ท าให้ไม่เกาะยึดตัว ในพื้นที่มีความลาดชันง่ายต่อการถูกชะล้าง
                   พังทลายสูญเสียหน้าดินเกิดเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม

                                 6. ดินตื้น หมายถึง ดินที่มีชื้นส่วนหยาบในปริมาณมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
                   เช่น ลูกรัง ก้อนกรวด เศษหินหรือก้อนปูน หรือพบชั้นดาน ชั้นหินพื้น ชั้นเชื่อมแข็งของศิลาแลงหรือชั้นมาร์ล
                   ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน

                                   ดินตื้นเป็นอุปสรรคในการชอนไชของรากพืชและการไถพรวน มีปริมาณเนื้อดินเหนียวน้อย
                   ท าให้ดินมีความสามารถในการดูดซับน้ าและธาตุอาหารต่ า การเกาะยึดตัวของเม็ดดินไม่ดี เกิดการชะล้าง
                   พังทลายของดินได้ง่าย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า พืชเจริญเติบโตไม่ดีและให้ผลผลิตต่ า
                                 7. ดินดาน หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบ หรืออนุภาคดินถูกเชื่อมโดยสารเคมีที่จับตัว
                   กันแน่นทึบและแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือจากการใช้ที่ดินและเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช

                   การไหลซึมของน้ าและการถ่ายเทอากาศ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก
                   โดยทั่วไปถ้าพบชั้นดานตื้นกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน (ถือเป็นดินตื้นชนิดหนึ่ง) จะส่งผลกระทบต่อการ
                   ปลูกพืชมาก ถ้าพบชั้นดานอยู่ระหว่างความลึก 50 – 100 เซนติเมตรจากผิวดิน จะส่งผลกระทบต่อการ

                   ปลูกพืชบ้างแต่ไม่มากนัก และถ้าพบชั้นดานอยู่ลึกมากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ถือว่าไม่มีปัญหาต่อ
                   การปลูกพืช ชั้นดานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชั้นดานที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และชั้นดานที่
                   เกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม
                                 8. ดินปนเปื้อน หมายถึง การที่สารเป็นพิษในรูปต่างๆ ถูกผสมลงในดินธรรมชาติ การปนเปื้อน

                   นี้อาจเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือเกิดจากธรรมชาติ แต่ท าให้ดินนั้นเกิดความเสื่อมโทรมมีปัญหา
                   ต่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร หรือมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของมนุษย์และสัตว์
                                 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า แม้ไม่ได้ถูกจัดเป็นดินปัญหาหลักของประเทศไทย ตามกรมพัฒนาที่ดิน
                   (2553) แต่ก็นับเป็นทรัพยากรดินปัญหา เนื่องจากวัตถุต้นก าเนิดดินมีแร่ธาตุอาหารตามธรรมชาติน้อย

                   ประกอบกับเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการปรับปรุง
                   บ ารุงดินเท่าที่ควร ท าให้ดินเสื่อมโทรมเป็นเหตุให้พืชเจริญเติบโตช้า ผลผลติตกต่ า
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36