Page 21 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  11



                        6.3   สภำพภูมิประเทศ

                             สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของพื้นที่ด�าเนินการ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอนมีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอน
                  ลาดเล็กน้อย (gently undulating) มีความลาดชันประมาณ 2-5 เปอร์เซ็นต์ และมีเนินเขาโดดที่เรียกว่า

                  “เขาหินซ้อน” อยู่ทางด้านทิศเหนือของพื้นที่ โดยมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 110 เมตร
                  มีทิศทางการลาดเทต�่าลงมาสู่บริเวณที่เป็นห้วย โดยมีห้วยน�้าโจนไหลผ่านบริเวณตอนกลางของพื้นที่ บริเวณใกล้ๆ

                  ล�าห้วยจะมีสภาพพื้นที่ราบเรียบขนานล�าน�้า ซึ่งเป็นที่แคบๆ ล�าห้วยน�้าจะแล้งในฤดูแล้ง ห้วยดังกล่าวจะมีการ
                  สร้างฝายชะลอน�้า และอ่างเก็บน�้าเป็นระยะ (ภาพที่ 3)



                        6.4   ธรณีสัณฐำนและวัตถุต้นก�ำเนิดดิน

                             พื้นที่บริเวณโครงการศูนย์ฯ ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลอนลาด เกิดจากการ
                  สลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินแกรนิต และเกิดจากการสลายตัวของหินแกรนิตแต่เคลื่อนย้ายมาทับถมซึ่งเรียกว่า

                  เป็นพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน (erosion surface) และมีเขาโดด (monadnock) ที่เรียกว่าเขาหินซ้อน
                  อยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่ เป็นภูเขาหินแกรนิตยุคไทรแอสซิก (Triassic) บริเวณส่วนต�่าของเนินหรือที่ราบต�่า

                  ระหว่างเนิน ซึ่งพบโดยทั่วไปในบริเวณพื้นที่โครงการศูนย์ฯ พื้นที่บริเวณส่วนตอนกลางในทิศเป็นแนวล�าห้วยน�้า
                  โจนและห้วยอื่นๆ ไหลผ่าน บริเวณขอบล�าห้วยเป็นที่ราบตะกอนล�าน�้าแคบๆ ยาวตลอดแนวล�าห้วย ลักษณะการ

                  เกิดของดินมีความสัมพันธ์กับสภาพพื้นที่ สามารถจัดแบ่งสภาพการเกิดดินได้ดังนี้

                             6.4.1 ดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินแกรนิตส่วนใหญ่อยู่บนบริเวณที่ลาดเชิงเขาหรืออยู่บริเวณ
                  ที่สูงของเนิน ซึ่งเป็นพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน (erosion surface) ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย

                  หรือดินร่วนเหนียวปนทราย พบเศษหินแกรนิตกับแร่ที่เกิดจากการสลายตัวของหินแกรนิต เช่น แร่ฟันม้า

                  (feldspar) แร่ไมกา (mica) แร่เขี้ยวหนุมาน (quartz) ปะปน ดินส่วนใหญ่จะเป็นดินลึกมาก บางแห่งจะเป็นดิน
                  ค่อนข้างลึก พบชั้นหินแกรนิตที่ก�าลังสลายตัวอยู่ในระดับความลึกประมาณ 80 เซนติเมตร
                             6.4.2 ดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินแกรนิตบริเวณพื้นที่ดอนที่เป็นพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน

                  (erosional surface) ที่พบเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชันประมาณ 2-5

                  เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ถึงดินร่วนเหนียวปนทราย ที่พบเศษเหลือของแร่ที่เกิดจากการ
                  สลายตัวผุพังของหินแกรนิต เช่น แร่ฟันม้า (feldspar) แร่ไมกา (mica) และแร่เขี้ยวหนุมาน (quartz) ในท�านอง
                  เดียวกันกับพื้นที่ลาดชันเชิงเขา ส่วนลาดต�่าของเนิน หรือบริเวณชายเนิน ดินที่พบจะเป็นดินทรายที่เกิดจากการ

                  ทับถมของตะกอนดินทรายที่ถูกชะล้างพังทลายมาจากพื้นที่ตอนบน

                             6.4.3 ดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนล�าน�้าเก่า พบอยู่บริเวณที่ราบลุ่มต�่า หรือบริเวณสองข้าง
                  ของล�าห้วยที่เป็นแนวแคบๆ ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว หรือดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทราย
                  เป็นดินลึกมาก การระบายน�้าของดินค่อนข้างเลวถึงเลว พบบริเวณที่ใช้ในการท�านา
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26