Page 15 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  5



                                            (1.4)  แปลสภาพการใช้ที่ดินในภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข เพื่อเขียนขอบเขตการใช้
                  ที่ดินเบื้องต้น

                                        (2)  การปฏิบัติงานในภาคสนาม


                                            (2.1)  ส�ารวจดินและสภาพการใช้ที่ดินแบบละเอียด โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี
                  เชิงเลข มาตราส่วน 1:4,000 และแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 เป็นแผนที่พื้นฐานในการปฏิบัติงาน

                  แผนที่ดินที่ผลิตออกมามีมาตราส่วน 1:4,000 โดยมีวิธีการส�ารวจดังนี้
                                            (2.2)  เจาะส�ารวจดินตามจุดที่ก�าหนดไว้ หรือบริเวณพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันอย่าง

                  ชัดเจน โดยใช้สว่านเจาะดินลึก 200 เซนติเมตร ถึงชั้นหินพื้นหรือชั้นดานแข็ง วางเรียงกันตามความลึก เพื่อตรวจ
                  ศึกษาสมบัติทางเคมี และทางกายภาพของดิน ดังนี้ เช่น ความหนาของชั้นดิน เนื้อดิน สีดิน การยึดตัวของอนุภาคดิน

                  ปริมาณการกระจายของรากพืช ค่าปฏิกิริยาดิน การจัดเรียงตัวของชั้นดิน ชนิดของชิ้นส่วนหยาบในดิน หรือวัตถุ
                  ต่างๆ ที่พบในชั้นดิน เช่น ก้อนกรวด ลูกรังและเศษหิน เป็นต้น

                                            (2.3)  บันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่ศึกษา ได้แก่ วัตถุต้นก�าเนิดดิน
                  ภูมิสัณฐาน ความลาดชัน การกร่อนของหน้าดิน การระบายน�้าของดิน ความสามารถให้น�้าซึมผ่านของดิน ระดับ

                  น�้าใต้ดิน สภาพน�้าท่วมขัง พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                                            (2.4)  จากข้อมูลข้อ 2.2 และ 2.3 จ�าแนกดินแต่ละจุดที่เจาะส�ารวจตามมาตรฐาน

                  ของกองส�ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน โดยจ�าแนกลงถึงระดับชุดดิน (soil series) ดินคล้ายชุดดิน (soil varants)
                  และประเภทของชุดดินหรือดินคล้ายชุดดิน โดยใช้เนื้อดินและความลาดชันฯลฯ แบ่งแยกย่อย แล้วเขียนขอบเขต

                  ของประเภทดินต่างๆ ดังกล่าวลงบนภาพถ่ายออร์โธสี ซึ่งหน่วยของดินที่ได้เขียนขอบเขตลงเรียกว่าหน่วยแผนที่
                  ดิน โดยใช้สัญลักษณ์เป็นหมายเลข

                                            (2.5)  เก็บตัวแทนประเภทชุดดินหรือดินคล้ายชุดดิน โดยท�าการขุดหลุมดิน ขนาด
                  ความกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร และลึก 2 เมตร ในบริเวณพื้นที่ส�ารวจ เพื่อท�าค�าบรรยายหน้าตัดดินและศึกษา

                  คุณสมบัติดินแต่ละชั้น จากนั้นเก็บตัวอย่างดินเข้าห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและทางเคมี
                  ของดิน

                                            (2.6)  จากการศึกษาสภาพการใช้ที่ดินในข้อ 2.3 เขียนหน่วยแผนที่แสดงสภาพการ
                  ใช้ที่ดิน เพื่อจัดท�าเป็นแผนที่แสดงสภาพการใช้พื้นที่ของโครงการฯ

                                            (2.7)  จากข้อมูลที่ได้จากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินน�ามาปรับแก้หน่วยแผนที่ดิน
                  เพื่อจัดท�าเป็นแผนที่ดินของโครงการฯ

                                            (2.8)  จัดท�ารายงานการส�ารวจดิน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20