Page 64 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 64

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           54





                  3.8  ลุ่มน้ าและพื้นที่ลุ่มน้ า


                          ลุ่มน้ า (Watershed)
                          เกษม (2551) รายงานว่าพื้นที่หน่วยหนึ่งซึ่งครอบคลุมล าน้ าธรรมชาติ เพื่อท าหน้าที่รวบรวม

                  น้ าให้ไหลลงสู่แม่น้ าหนึ่ง พื้นที่ลุ่มน้ าแต่ละแห่ง จะมีขนาดไม่แน่นอน ใช้กับสภาพภูมิศาสตร์ และ

                  วัตถุประสงค์ในการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการ หรืออาจหมายถึงหน่วยพื้นที่ซึ่งทางกายภาพมี
                  รูปปิด มีขอบโดยรอบ ระบบทางน้ าโดยธรรมชาติจะไหลจากขอบเข้าสู่ตอนกลางซึ่งมีล าน้ าหลัก

                  รองรับ มีทิศทางการไหลออกสู่พื้นที่รับน้ าที่มีขนาดใหญ่ เช่น มหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ หรือแม่น้ า

                  สายหลัก เป็นต้น โดยขนาดของลุ่มน้ าจะขึ้นกับความต้องการแต่ละบุคคล และประเภทการศึกษา ซึ่ง
                  ภายในล าน้ าหนึ่งๆจะประกอบด้วยลุ่มน้ าสาขามากกว่าหนึ่งเสมอ เพราะลุ่มน้ าเป็นระบบ หรือระบบ

                  สิ่งแวดล้อม (ค ารณ, 2552)

                          พื้นที่ลุ่มน้ า (Watershed Area) หมายถึง พื้นที่ซึ่งล้อมรอบด้วยสันปันน้ า (divide) เป็นพื้นที่

                  รับน้ าฝนของแม่น้ าสายหลักในลุ่มน้ านั้นๆ เมื่อฝนตกลงมาในพื้นที่ลุ่มน้ าจะไหลออกสู่ล าธารสาย
                  ย่อยๆ (suborder)  แล้วรวมกันออกสู่ล าธารสายใหญ่ (order) และรวมกันออกสู่แม่น้ าสายหลัก

                  (mainstream) จะไหลออกปากน้ า (outlet) ในที่สุด (ค ารณ, 2552)
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69