Page 62 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           52






                          13)   ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard)
                              คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่และปริมาณดินที่สูญเสีย

                  (Soil loss) พื้นที่มีความลาดชันสูงโอกาสที่ดินจะถูกกัดกร่อนก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น เมื่อผิวหน้าดินถูกกัด

                  กร่อน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของน้ า ดินจะถูกพัดพาไปโดยขบวนการไหลบ่าของน้ าท าให้ธาตุ
                  อาหารพืชที่อยู่ในดินสูญเสียตามไปด้วย รวมทั้งตะกอนที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

                  โดยทั่วไป


                  3.5  ความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-use requirement)

                        ในแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ว่าจะเป็นพืชเดี่ยวหรือหลายพืชก็มีความต้องการ
                  ปัจจัยและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ความต้องการปัจจัยที่ผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของ

                  พืชนั้น สามารถเรียกว่า “ความต้องการด้านพืช” (crop requirement) ขณะเดียวกันส าหรับตัวเกษตรกร

                  เองนั้น จะต้องพิจารณาถึงความต้องการด้านเครื่องจักร เครื่องกล สารเคมี แรงงานและเทคโนโลยี
                  เงินทุน ความต้องการทางด้านนี้เรียกว่า “ความต้องการด้านการจัดการ”(Management  requirements)

                  นอกจากนี้ยังมีความต้องการอื่นอีกด้านหนึ่งเพื่อสามารถใช้ที่ดินได้ตลอดไปโดยไม่ท าลายคุณภาพ

                  ของที่ดินเองหรือท าลายสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อันเนื่องมาจากประเภทการใช้ที่ดินนั้นๆ ในแต่ละทางเลือก

                  การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความต้องการทางด้านนี้เรียกว่า “ความต้องการด้านการอนุรักษ์”(conservation
                  requirements)


                  3.6  การจ าแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (Land Suitability Classification)

                        จากหลักการของ FAO  Framework  ได้จ าแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น 2 อันดับ

                  (Order) คือ
                            1)  อันดับที่เหมาะสม (Order S, suitability)

                            2)  อันดับที่ไม่เหมาะสม (Order N, not suitability)

                            และจาก 2 กลุ่มที่ได้แบ่งย่อยออกเป็น 4 ชั้น (class) ดังนี้
                            S1 :  หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable)

                            S2 :  หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately suitable)

                            S3 :  หมายถึงชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally suitable )
                            N  :  หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not suitable)

                          นอกจากนี้ในแต่ละชั้นความเหมาะสมยังแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Subclass)  ซึ่งเป็นข้อจ ากัด

                  ของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช ส าหรับคู่มือฉบับนี้ได้ก าหนดไว้ 13 ชนิด
                  ดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ 3.3.2
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67