Page 63 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 63

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           53





                          ชั้นความเหมาะสมทั้ง 4 ชั้น สามารถก าหนดโดยพิจารณาเปรียบเทียบกับผลผลิต โดยใช้ฐานดังนี้

                          S1 =  80-100% optimum yield,       S2  =  40-80% optimum yield

                          S3 =  20-40% optimum yield,        N  =  น้อยกว่า 20 % optimum yield

                  โดย optimum yield หมายถึง ระดับผลผลิตสูงสุดที่ได้จากการผลิตในสภาพที่มีสมบัติทางดิน ลักษณะ

                  ภูมิอากาศ พันธุ์พืช และการจัดการที่เหมาะสม


                  3.7  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพที่ดิน

                        วลัยพร (2543) รายงานว่าจากการจ าแนกความเหมาะสมของพื้นที่ส าหรับการปลูกส้มโอพันธุ์
                  ขาวแตงกวา ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท โดยใช้กรอบแนวคิดในการประเมินคุณภาพที่ดิน ส าหรับการท า

                  การเกษตรในเขตน้ าฝนของ FAO (1983) เป็นหลัก โดยพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก กระจายอยู่ริมฝั่ง

                  แม่น้ าสายหลักเจ้าพระยา ท่าจีน และแม่น้ าน้อย มีเนื้อที่ 16,688 ไร่ หรือร้อยละ 1.08 ของพื้นที่จังหวัด
                        ปัญญา (2555) รายงานการประเมินความเหมาะสมของที่ดินทางกายภาพ ส าหรับปลูกมัน

                  ส าปะหลัง และอ้อยภายในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก

                  พระราชด าริ    โดยอาศัยหลักการของ FAO  (1983)  และคู่มือประเมินคุณภาพที่ดินของบัณฑิต และ

                  ค ารณ (2542) ใช้วิธีการจับคู่เพื่อประเมินความเหมาะสมระหว่างความต้องการของประเภทการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินกับคุณภาพที่ดินโดยใช้วิธีการประเมินจากกลุ่มคุณลักษณะที่มีข้อจ ากัดรุนแรงที่สุด

                  (Most limiting group of land characteristics)

                        ธัญลักษณ์ และกัลยา (2555) รายงานการประเมินความเหมาะสมของที่ดินตามหลักการของ
                  FAO  (1983) ในการประเมินพื้นที่ความเหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวในจังหวัดลพบุรี โดยศึกษา

                  เฉพาะข้อมูลทางกายภาพ คือ ข้อมูลปัจจัยความต้องการการใช้ที่ดิน (Land  use  requirement) ปัจจัยที่

                  น ามาศึกษาประกอบด้วยความลึกของดิน การระเหยน้ าของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                  ความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารของดิน ความลาดชัน อุณหภูมิ ปริมานน้ าฝน และเนื้อดิน

                        วัลลดา และคณะ (2556) รายงานผลการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวสังข์

                  หยดในจังหวัดพัทลุง โดยใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินของ FAO  (1983)  โดยก าหนดปัจจัยทาง
                  กายภาพที่ศึกษา ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่การระบายน้ าของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร

                  ในดิน ค่าปฎิกิริยาดิน ลักษณะเนื้อดิน ความลึกของดิน และค่าปริมาณเกลือในดิน การวิเคราะห์เชิง

                  พื้นที่พบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอเมือง      ควน

                  ขนุน เขาชัยสน บางแก้ว และปากพะยูน
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68