Page 29 - ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ปลูกในชุดดินนครพนม จังหวัดบึงกาฬ
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       21








                              2.6 ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                              การศึกษาหาผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแต่ละต ารับการทดลองมีรายละเอียดดังนี้

                       (ตารางที่ 6)

                              ฤดูปลูกที่ 1 พบว่าผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีค่าผันแปรอยู่ในช่วง 380.9 –  1,196.6
                       กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน เท่ากับ 12.58 เปอร์เซ็นต์ และมีความแตกต่างกัน
                       อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลผลิตมากกว่าการใส่
                       ปุ๋ยครึ่งค่าวิเคราะห์ดิน และข้าวโพดที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ย อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง โดยมีผลผลิตเฉลี่ย

                       1,196.6 1,012.3 และ 380.9 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ ส่วนการใส่ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรมีผลผลิต
                       ไม่แตกต่างกันทางสถิติ กับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยครึ่งค่าวิเคราะห์ดิน โดยการใส่
                       ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ย 1,057.9 กิโลกรัมต่อไร่

                              ฤดูปลูกที่ 2 พบว่าผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีค่าผันแปรอยู่ในช่วง 395.9 –  1,232.0
                       กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน เท่ากับ 3.7 เปอร์เซ็นต์ และมีความแตกต่างกันอย่างมี

                       นัยส าคัญยิ่ง ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลผลิตมากกว่าการใส่ปุ๋ยครึ่ง
                       ค่าวิเคราะห์ดิน การใส่ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรและข้าวโพดที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ย อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง
                       โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 1,232.0 1,032.9 1,070.4 และ 395.9 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ และการใส่ปุ๋ย
                       ครึ่งค่าวิเคราะห์ดินกับการใส่ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรมีผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ


                              จากผลการทดลองพบว่าปุ๋ยมีผลต่อผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ย
                       จะมีความแตกต่างกับต ารับการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง แต่เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะต ารับ
                       การทดลองที่มีการใส่ปุ๋ยทุกกรรมวิธี พบว่าต ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตสูง
                       กว่าต ารับการทดลองมีการใส่ปุ๋ยกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับปุ๋ยที่มีธาตุ
                       อาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมครบ และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของ

                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และจากการพิจารณาผลการทดลองสังเกตเห็นว่าปุ๋ยโพแทสเซียมมีความส าคัญกับ
                       ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีผลสอดคล้องกับการทดลองของ Tabatbii  Ebrahimi  et  al.
                       (2011) ได้รายงานถึงการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม อัตรา 32 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่

                       โพแทสเซียม เพิ่มจ านวนเมล็ดต่อแถว น้าหนัก 1,000 เมล็ด และผลผลิตเพิ่มขึ้น 24.9 13.9 และ 47.9
                       เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ และเช่นเดียวกันกับการทดลองของ Brar et al. (2012) ได้ท าการศึกษาอัตรา
                       การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมที่แตกต่างกัน (ให้ปุ๋ยไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเท่ากันทุกต ารับการทดลอง)
                       พบว่าอัตราการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมมีผลต่อน้ าหนัก 1,000 เมล็ด และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34