Page 22 - ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ปลูกในชุดดินนครพนม จังหวัดบึงกาฬ
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       14








                       มีนัยส าคัญยิ่ง ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การใส่ปุ๋ยครึ่งค่าวิเคราะห์ดิน
                       และการใส่ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกร มีความสูงมากกว่าข้าวโพดที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ย อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง
                       โดยมีความสูงเฉลี่ย 140.31 134.76 128.92 และ 98.46 เซนติเมตร ตามล าดับ

                              2.2 เส้นผ่าศูนย์กลางของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                              การศึกษาการเจริญเติบโตด้านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแต่ละต ารับการ
                       ทดลอง มีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 3)

                              ฤดูปลูกที่ 1 พบว่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีค่าผันแปรอยู่ในช่วง 1.39 –

                       2.07 เซนติเมตร มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนร้อยละ 5.69 และมีความแตกต่างกันอย่างมี
                       นัยส าคัญยิ่ง  ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การใส่ปุ๋ยครึ่งค่าวิเคราะห์ดิน
                       และการใส่ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกร มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่าข้าวโพดที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ย อย่างมี
                       นัยส าคัญยิ่ง โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 2.06 2.07 2.02 และ 0.17 เซนติเมตร ตามล าดับ

                              ฤดูปลูกที่ 2 พบว่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีค่าผันแปรอยู่ในช่วง 1.65 –

                       2.40 เซนติเมตร มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนร้อยละ 5.11 และมีความแตกต่างกันอย่างมี
                       นัยส าคัญยิ่ง  ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับการใส่ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า
                       การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การใส่ปุ๋ยครึ่งค่าวิเคราะห์ดินและข้าวโพดที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ย อย่างมี
                       นัยส าคัญยิ่งทางสถิติ  โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 2.40 2.21 2.11 และ 1.65 เซนติเมตร ตามล าดับ

                       และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กับการใส่ปุ๋ยครึ่งค่าวิเคราะห์ดินมีมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่แตกต่างกัน
                       ทางสถิติ

                              จากผลการทดลองพบว่าปุ๋ยมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตด้านความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลาง
                       ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับต ารับการทดลองที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย
                       โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนเป็นปุ๋ยที่มีบทบาทต่อการเจริญของพืชมากที่สุด โดยไนโตรเจนช่วยในการ

                       เจริญของราก ล าต้น ใบ และการให้ผลผลิต  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการไนโตรเจนในปริมาณที่แตกต่าง
                       กัน ตามระยะการเจริญเติบโต โดยในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะต้องการเพียงเล็กน้อย และจะ
                       ต้องการมากขึ้นตามอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นและจะใช้มากที่สุดในช่วงออกดอกและสร้างเมล็ด

                       (Bender et al., 1013) ปุ๋ยฟอสฟอรัส ท าหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานในพืช ช่วยส่งเสริมการเจริญของ
                       ราก และล าต้นเช่นเดียวกับไนโตรเจน ซึ่งฟอสฟอรัสมีความส าคัญอย่างยิ่ง ในระยะแรกของการ
                       เจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Arnon, 1975) เช่นเดียวกันกับการทดลองของ Tabatbii et al.
                       (2011) ได้ท าการศึกษาผลของปุ๋ยโพแทสเซียมต่อลักษณะต่างๆ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่าอัตรา

                       การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ จ านวนใบ เส้นผ่าศูนย์กลางของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น แต่
                       เมื่อพิจารณาเฉพาะต ารับการทดลองที่มีการใส่ปุ๋ยทุกกรรมวิธี พบว่าความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางของ
                       ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ทั้งนี้อาจเกิดจากอัตราการใส่ปุ๋ยมีปริมาณไม่
                       แตกต่างกัน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27