Page 14 - การวิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำแม่น้ำชี
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1-4
A = R K L S C P
โดยที่ A เป็นค่าการสูญเสียดินต่อหน่วยของพื้นที่
R เป็นค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน
K เป็นค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน
L เป็นค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท
S เป็นค่าปัจจัยความชันของความลาดเท
C เป็นค่าปัจจัยการจัดการพืช
P เป็นค่าปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลาย
เมื่อนําข้อมูลค่าปัจจัยต่างๆ มาใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายในสมการ
การสูญเสียดินสากล โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยแทนที่ค่าแผนที่ตามสูตรคณิตศาสตร์
และนํามาใช้เทคนิคการซ้อนทับก็จะได้เป็นแผนที่แสดงบริเวณที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย
ในระดับต่างๆ นํามาใช้ประโยชน์เพื่อใช้สําหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มนํ้าสาขาต่อไป
(3) การวิเคราะห์ข้อมูลภูมิอากาศเพื่อหาปริมาณการคายระเหยนํ้า ปริมาณนํ้าฝน
ที่เป็นประโยชน์ และช่วงระยะเวลาปลูกพืช
(4) การประเมินความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพ ได้ใช้หลักการประเมิน
ความเหมาะสมของที่ดินตามระบบของ FAO Framework (ค.ศ. 1983) โดยทําการเปรียบเทียบ
ความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirement) กับคุณภาพของที่ดิน
(Land Qualities) และจําแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดินออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้
S1 : ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly Suitable)
S2 : ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately Suitable)
S3 : ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally Suitable)
N : ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not Suitable)
โดยการจัดชั้นความเหมาะสมพิจารณาจากปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
และการให้ผลผลิตของพืช คือ
- ระบบอุณหภูมิ (Temperature Regime: t) พิจารณาจากอุณหภูมิเฉลี่ย
ในฤดูเพาะปลูก
- ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture Availability: m) พิจารณา
จากระยะเวลาที่มีนํ้าท่วมขัง (นาข้าว) ในรอบปี ปริมาณนํ้าฝนในรอบปี ความต้องการนํ้าในช่วง
การเจริญเติบโต ระยะเวลาที่ขาดนํ้าในรอบปี และเนื้อดินซึ่งสัมพันธ์กับความอุ้มนํ้าของดิน