Page 13 - การวิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำแม่น้ำชี
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             1-3






                            1.4.2 กําหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่จะนําไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยอาศัยระบบ
                      การวิเคราะห์เชิงพื้นที่

                            1.4.3 จัดหาและรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทางด้านทรัพยากรต่างๆ คือ ดิน ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ
                      นํ้า ป่าไม้และพืชพรรณ ทั้งด้านสภาพและการใช้ประโยชน์ ข้อมูลสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

                      ทั้งในภาพรวมและเฉพาะด้าน ตลอดจนนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องในด้านการบริหารจัดการ
                      ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทั้งข้อมูลทุติยภูมิ โดยได้รวบรวมจากหน่วยงาน เอกสาร

                      ผลงานวิจัยต่างๆ และข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งทําการจัดหาขึ้นเองตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

                            1.4.4 การนําข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้มีการนําเข้าข้อมูลแผนที่ เช่น แผนที่กลุ่มชุดดิน
                      แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน และแผนที่การพัฒนาแหล่งนํ้า เป็นต้น ทําการเก็บข้อมูลในรูป Digital  Data

                      โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ และโปรแกรม Microsoft Office
                            1.4.5 การวิเคราะห์

                              1)  การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป เป็นการวิเคราะห์ในด้านข้อเท็จจริง ปัญหาการแก้ไข และ
                      สถานการณ์ในปัจจุบันของข้อมูลในแต่ละด้านที่กล่าวมาแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะนํามาใช้

                      ประกอบการพิจารณากําหนดทิศทางที่เหมาะสมในอนาคต
                              2)  การวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะด้านต่างๆ คือ

                               (1)   การวิเคราะห์เพื่อจัดทําหน่วยที่ดิน
                                  ใช้หลักเกณฑ์และมาตรการในการจําแนกโดยอาศัยปัจจัยหลักที่เป็ น

                      องค์ประกอบของทรัพยากรดินในลุ่มนํ้าสาขาที่สําคัญต่างๆ คือ  อาศัยหลักเกณฑ์และสมบัติของดิน

                      โดยใช้ข้อมูลชุดดินที่ส่วนสํารวจและจําแนกดินได้จัดทําไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยนําเอาสมบัติ
                      และลักษณะทางเคมีและกายภาพที่สําคัญของดินมาพิจารณาจําแนกเฉพาะลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่
                      สภาพพื้นที่และความลาดชัน ความลึกของดิน การระบายนํ้าของดิน ปริมาณก้อนกรวดและเศษหิน

                      ปะปน ปฏิกิริยาของดิน ข้อจํากัดและองค์ประกอบที่สําคัญของดิน เป็นต้น นํามาเป็นปัจจัยใช้ใน

                      การพิจารณาวิเคราะห์จัดทําหน่วยที่ดิน โดยยึดหลักเกณฑ์ที่ว่า หน่วยที่ดินเดียวกันจะประกอบด้วย
                      คุณภาพที่ดินและ/หรือลักษณะสมบัติดินคล้ายของดินคล้ายคลึงกันมากที่สุด

                               (2)   การประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดิน
                                  โดยการใช้สมการสูญเสียดินสากล (USLE ของ Wischmeier และ Smith, 1978)

                      มาคํานวณ ซึ่งรูปแบบสมการและปัจจัยต่างๆ ที่นํามาใช้ในการวิเคราะห์ค่าสูญเสียดิน คือ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18