Page 11 - การวิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำแม่น้ำชี
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                           บทที่ 1

                                                           บทนํา



                      1.1  หลักการและเหตุผล

                            การพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยที่ผ่านมา  ได้มีการนําเอาทรัพยากรธรรมชาติไปใช้

                      ประโยชน์อย่างมากมาย โดยขาดการบริหารจัดการอย่างมีระบบเป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติ
                      เกิดความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเฉพาะทรัพยากรดิน

                      ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนา ทรัพยากรด้านเกษตรกรรมอุตสาหกรรม การประกอบอาชีพและ
                      กิจกรรมอื่นๆ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ขาดความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันในภาพรวม ก่อให้เกิด

                      ผลกระทบกับสถานภาพทรัพยากรด้านอื่นๆ ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มนํ้าควรคํานึงถึงหลักการ
                      ทางระบบนิเวศเป็นหลักในการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์ หรือการพัฒนา ทําให้

                      การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือย ถ้าขาดการระมัดระวังในการบริหารจัดการอย่างไม่
                      เหมาะสม เป็นเหตุให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ และการการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและนํ้า

                      ซึ่งเป็นการทําลายแหล่งต้นนํ้าลําธารจนก่อให้เกิดความไม่สมดุลตามธรรมชาติ อันจะก่อให้เกิดผลเสีย
                      ต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรและการประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยรวมของประเทศ

                            ดังนั้น การวิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินในลุ่มนํ้าแม่นํ้าชีเพื่อการวางแผนการใช้ที่ดิน จึงเป็น

                      แนวทางสําคัญในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มนํ้า เพื่อการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับศักยภาพ
                      ของที่ดินและทรัพยากรที่มีอยู่ โดยการวิเคราะห์ปัญหาหลักๆ ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาที่เป็นพื้นที่นําร่อง

                      ของสถานภาพปัญหาอันได้แก่ การเสื่อมโทรมของของทรัพยากรดินและดินปัญหาต่างๆ ในลุ่มนํ้า
                      สาขาลํานํ้าชีตอนบน (0402) ลุ่มนํ้าสาขาลํานํ้าชีส่วนที่ 3 (0408)  และลุ่มนํ้าสาขาลําพะเนียง (0411)

                      ซึ่งเป็นตัวแทนของปัญหาดินเสื่อมโทรม ดินตื้น ดินทราย และดินเค็ม เพื่อเป็นแนวในการจัดการ
                      ทรัพยากร และการจัดการดิน

                            พื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มนํ้าสาขาลํานํ้าชีตอนบน (0402) อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ พื้นที่บางส่วน
                      อยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 2,550.80 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,594,250 ไร่ ลุ่มนํ้าสาขาลํานํ้าชีส่วนที่ 3 (0408)

                      อยู่ในจังหวัดขอนแก่น พื้นที่บางส่วนอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ 3,276.24
                      ตารางกิโลเมตร หรือ 2,047,650 ไร่ และลุ่มนํ้าสาขาลําพะเนียง (0411) อยู่ในจังหวัดหนองบัวลําภู

                      พื้นที่บางส่วนอยู่ในจังหวัดเลย และจังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ 1,890.42 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,181,513 ไร่

                      พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทําการเกษตร ดังนั้นควรมีการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16