Page 276 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 276

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           4-23






                  4.3  ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)

                        4.3.1 การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ (ด้านพืช)
                             จากการจําแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินและการสํารวจสภาพการผลิตในพื้นที่ลุ่มนํ้า

                  สาขาโตนเลสาปตอนล่าง ปีการผลิต 2555/56 พบว่า มีการใช้ประโยชน์ที่ดินใน 7 หน่วยที่ดิน ในบางหน่วยที่ดิน

                  สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้หลายประเภท จึงต้องศึกษาว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทใดจะให้
                  ผลตอบแทนที่ดีกว่ากัน นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่างมีทั้ง

                  การผลิตพืชอายุสั้นในรอบปีการผลิตเดียวและพืชที่มีอายุการผลิตเกินกว่า 1 ปี มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต

                  หลายปี การวิเคราะห์จะประกอบด้วย ค่าตัวแปร คือ รายได้หรือมูลค่าผลผลิต ต้นทุนผันแปร ผลตอบแทน
                  เหนือต้นทุนผันแปร และอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน สําหรับการผลิตไม้ผลและไม้ยืนต้น ที่มีอายุ

                  การผลิตเกินกว่า 1 ปี ดังนั้น จึงต้องนํามาวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการเพื่อเป็นแนวทาง

                  ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน โดยใช้หลักมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (Net Present Value : NPV)

                  และปรับค่า NPV เป็นค่าเฉลี่ยต่อปีด้วย Capital Recovery Factor (CRF) เพื่อนํามาเปรียบเทียบผลตอบแทน
                  ทางด้านเศรษฐกิจของการใช้ประโยชน์ที่ดินของพืชแต่ละชนิด ซึ่งจะเป็นเกณฑ์ให้เกษตรกรตัดสินใจว่า

                  ปัจจุบันจะปลูกพืชชนิดใดจึงจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่ากัน ในการดําเนินการวิเคราะห์ได้จําแนกตาม

                  ลักษณะของสภาพพื้นที่และลักษณะของพืชที่ผลิต ได้แก่ เขตนํ้าฝน และเขตนํ้าชลประทาน ซึ่งการวิเคราะห์

                  จะจําแนกเป็นการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินและการประเมินความเหมาะสมทางด้าน
                  เศรษฐกิจในการผลิตพืช โดยมีรายละเอียดดังนี้

                             เขตนํ้าฝน (ตารางที่ 4-9)

                             หน่วยที่ดินที่ 1 มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2 ประเภท ได้แก่ ข้าวเจ้านาปีนาดํา และ
                  ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน โดยข้าวเจ้านาปีนาดําและนาหว่านใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยข้าวเจ้านาปีนาดํา

                  ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 377.21 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 410.98 กิโลกรัมต่อไร่

                  ราคาเฉลี่ย 12.42 บาทต่อกิโลกรัม โดยข้าวเจ้านาปีนาดํา ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด
                  2,188.21 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 1,490.32 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วน

                  ของรายได้ต่อต้นทุน 1.47 ส่วนข้าวเจ้านาปีนาหว่าน ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด

                  2,644.31 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 1,826.20 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วน

                  ของรายได้ต่อต้นทุน 1.56 สําหรับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในหน่วยที่ดินที่ 1 ที่มีความเหมาะสม
                  มากที่สุด ได้แก่ ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน

                             หน่วยที่ดินที่ 31B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2 ประเภท ได้แก่ มันสําปะหลังและ

                  ลําไย โดยมันสําปะหลัง เกษตรกรปลูกพันธุ์ห้วยบง เกษตรศาสตร์ และระยอง 5 ได้รับผลผลิตเฉลี่ย

                  4,052.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 2.33 บาทต่อกิโลกรัม โดยมันสําปะหลัง ได้รับผลตอบแทนเหนือ
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281