Page 272 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 272

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           4-19





                             หน่วยที่ดินที่ 44B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2 ประเภท ได้แก่ มันสําปะหลังและ

                  ยูคาลิปตัส โดยยูคาลิปตัสมีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง (S1) ส่วนมันสําปะหลัง มีชั้น

                  ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             หน่วยที่ดินที่ 55B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 ประเภท ได้แก่ มันสําปะหลัง
                  อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน–ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน ทั้ง 3 ประเภทมีชั้นความเหมาะสม

                  ทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)


                  ตารางที่ 4-7  ชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (เขตนํ้าฝน) ในพื้นที่

                             ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ปีการผลิต 2555/56


                                 ประเภท                                     หน่วยที่ดิน
                             การใช้ประโยชน์ที่ดิน        6     7    17hi  29B 31 31b  40B 44B  55B

                   ข้าวเจ้านาปีนาดํา (ขาวดอกมะลิ 105)    S2    -     -     -    -    -    -     -    -
                   ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน (ขาวดอกมะลิ 105)   -    S2    S2    -    -   S3    -     -    -

                   มันสําปะหลัง                          -     -     -    S2    -    -    -    S2   S2

                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน – ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน  -  -  -  -  S2  -  -   -   S2
                   ยูคาลิปตัส                            -     -     -     -    -    -   S1    S1    -

                   อ้อยโรงงาน                            -     -     -     -    -    -    -     -   S2

                  หมายเหตุ : S1 =  ชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง
                             S2 =  ชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง
                             S3 =  ชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับเล็กน้อย


                        4.2.3) การวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจตามกลุ่มพืช

                             จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนและประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภทการ

                  ใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละหน่วยที่ดิน หากนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบตามกลุ่มพืช พอสรุปได้ดังนี้

                             เขตนํ้าฝน

                             การทํานา มีการปลูกข้าวนาปีในหน่วยที่ดินที่ 6 7 17hi และ 31b โดยจะเป็นข้าวเจ้าทั้งหมด
                  ซึ่งเกษตรกรจะทําทั้งนาดําและนาหว่าน โดยเกษตรกรจะใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยข้าวเจ้านาปี ที่ปลูก

                  ในหน่วยที่ดินที่ 6 เกษตรกรจะทําเป็นนาดํา ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 421.24 กิโลกรัมต่อไร่ ได้รับผลตอบแทน

                  เหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 2,795.73 บาทต่อไร่ ส่วนข้าวเจ้านาปี ในหน่วยที่ดินที่ 7 17hi และ 31b
                  เกษตรกรทําเป็นนาหว่าน โดยหน่วยที่ดินที่ 7ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 387.85 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวเจ้า

                  นาหว่านในหน่วยที่ดินที่ 17hi และ 31b ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย 358.76 และ 354.80 กิโลกรัมต่อไร่
   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277