Page 273 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 273

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           4-20





                  ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด พบว่า ข้าวเจ้านาปี ในหน่วยที่ดินที่ 7

                  ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 2,153.55 บาทต่อไร่ สูงกว่าหน่วยที่ดิน 17hi และ 31b

                  ซึ่งได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 2,047.01 และ 1,599.97 บาทต่อไร่ ตามลําดับ เมื่อนํามา
                  จัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า ข้าวเจ้านาปี ในหน่วยที่ดินที่ 6 7 17hi มีชั้นความเหมาะสมทาง

                  เศรษฐกิจในระดับเหมาะสมปานกลาง (S2) ส่วนข้าวเจ้านาปี ในหน่วยที่ดินที่ 31b มีชั้นความเหมาะสมทาง

                  เศรษฐกิจในระดับเล็กน้อย (S3)

                             การผลิตมันสําปะหลัง มีการปลูกมันสําปะหลังในหน่วยที่ดิน 29B 44B และ 55B
                  เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ห้วยบง เกษตรศาสตร์ และระยอง 5 โดยมันสําปะหลังที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่

                  29B ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 4,533.33 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าหน่วยที่ดินที่ 44B และ 55B ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย

                  3,708.66 และ 3,475.46 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลําดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  ทั้งหมด พบว่า การผลิตมันสําปะหลังในหน่วยที่ดินที่ 29B ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
                  ทั้งหมดเฉลี่ย 6,696.29 บาทต่อไร่ สูงกว่ามันสําปะหลังที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 44B และ 55B ซึ่งได้รับ

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 5,062.37 และ 4,656.92 บาทต่อไร่ ตามลําดับ เมื่อนํามาจัดชั้น

                  ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า มันสําปะหลังทั้ง 3 หน่วยที่ดิน มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
                  ในระดับปานกลาง (S2)

                             การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในหน่วยที่ดินที่ 31 และ 55B

                  โดยลักษณะการเพาะปลูกจะมีการปลูกพืช 2 ครั้งในรอบปี ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน–ข้าวโพด
                  เลี้ยงสัตว์ ปลายฝน เกษตรกรจะนิยมใช้พันธุ์ NK48 และ CP888 ในการผลิตทั้ง 2 ครั้ง โดยข้าวโพด

                  เลี้ยงสัตว์ ต้นฝน ในหน่วยที่ดินที่ 55B ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,155.13 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าหน่วยที่ดินที่ 31

                  ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย 937.87 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน ในหน่วยที่ดินที่ 55B

                  ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,015.00 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าหน่วยที่ดินที่ 31 ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย 813.35 กิโลกรัม
                  ต่อไร่ จากการวิเคราะห์การผลิตในรอบปี เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนทั้งหมด พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  ต้นฝน–ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน ในหน่วยที่ดินที่ 55B ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด

                  รวม 2 ครั้ง 5,809.32 บาทต่อไร่ สูงกว่าหน่วยที่ดินที่ 31 ซึ่งได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
                  ทั้งหมดรวม 2 ครั้ง 4,086.91 บาทต่อไร่ ตามลําดับ เมื่อนํามาจัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า

                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน–ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน ทั้ง 2 หน่วยที่ดิน มีชั้นความเหมาะสมทาง

                  เศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             การผลิตยูคาลิปตัส มีการปลูกยูคาลิปตัสให้หน่วยที่ดิน 40B และ 44B เกษตรกรนิยม
                  ปลูกพันธุ์ K7 โดยยูคาลิปตัสที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 44B ได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 14,390.00 กิโลกรัม

                  ต่อไร่ สูงกว่าหน่วยที่ดินที่ 40B ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 11,116.67 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อเปรียบเทียบ
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278